2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

85 คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บัญญัติไว้ ให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป นอกจากนั้นเจ้าอาวาสยังต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ความสามารถเพียงพอในการบริหารจัดการวัด เพื่อพัฒนาวัดให้เป็นไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น แต่ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดเจ้าอาวาสในบางวัด ได้แก่ วัดส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการดูแลทรัพย์สินและศาสนสมบัติของ วัด ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสจะบริหารจัดการแต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้มอบหมายหน้าที่ให้พระภิกษุหรือ ไวยาวัจกร หรือกรรมการวัดได้เข้าไปช่วยเหลือดูแลทรัพย์สินอันเป็นศาสนสมบัติของวัดและขาด ความรู้ความชำนาญในด้านการบริหารจัดการ ผลที่ตามมาคือ เงินของวัดรั่วไหลไปเป็นจำนวนมาก จึง เห็นได้ว่า กิจการต่างๆ ภายในวัดจะราบรื่นเพียงใดขึ้นอยู่กับเจ้าอาวาสแทบทั้งสิ้นในการกำหนด ทิศทางของวัด ดังนั้น หากเจ้าอาวาสมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการวัดที่ดีเพียงพอแล้ว กิจการต่างๆ ภายในวัดย่อมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสอาจแต่งตั้งบุคคล ดังต่อไปนี้ช่วยเหลือในการบริหารจัดการการเงินของวัด ได้แก่ คณะกรรมการวัด มีหน้าที่เป็นที่ ปรึกษาหารือกิจการต่างๆ ของเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส มีหน้าที่ช่วยเจ้าอาวาสในกิจการทุกแผนก และช่วยแบ่งเบาภาระตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายโดยเฉพาะและไวยาวัจกร 2) ไวยาวัจกร ในพระวินัยปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ "ห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์รับเงินและทอง" (มหามกุฏราชวิทยาลัย,พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 2, 2539)หากฝ่าฝืนแล้วต้องโทษอาบัติ แต่ถ้าหากมีบุคคลที่เรียกว่าไวยาวัจกรซึ่งหมายความว่า "ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์ ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจ ธุระ ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ"เป็นผู้จัดการในเรื่องเงินทองรวมทั้งธุรกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน ให้พระภิกษุสงฆ์แล้ว พระภิกษุสงฆ์นั้นไม่ต้องอาบัติ(ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์, 2553) ดังที่ปรากฏใน พระวินัยปีฎกว่า "อาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไมได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล" เมื่อท่านกล่าว อย่างนั้น ทูตถามว่า "มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม"ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีธุระไปที่วัด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงกล่าวกับทูตว่า "อุบาสกนี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย " (มหามกุฏ ราชวิทยาลัย,พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม 2 ภาค 2, 2539)เพราะฉะนั้นไวยาวัจกรจึงเป็นผู้ทำหน้าที่ สนองงานต่างๆ แก่เจ้าอาวาสและมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการการเงินของวัดรวมถึง เงินบริจาคอยู่ด้วยเสมอ (1) ความหมายของไวยาวัจกรไวยาวัจกร หมายถึง ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์ ผู้ช่วย ขวนขวายทำกิจธุระผู้ช่วยเหลือรับใช้พระหรือตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วย การแต่งตั้งถอดถอนไวยาวัจกร ข้อ 4 กำหนดว่า "ไวยาวัจกร หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มี หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและจะมีหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3