2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
86 เป็นหนังสือ "ดังนั้นไวยาวัจกรจึงเป็นฆราวาสผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือหรือรับใช้พระในกิจการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย (2) หลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับไวยาวัจกรพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 23 กำหนดว่าการแต่งตั้ง ถอดถอนไวยาวัจกร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎุมหาเถรสมาคมฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนไวยาวัจกร ตั้งแต่ ข้อ 6 ถึงข้อ 15 โดยกำหนดคุณสมบัติไวยาวัจกรไว้ในข้อ 6 (1) - (10) นอกจากนี้ไวยาวัจกรที่ได้รับ การแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสและได้รับอนุมัติจากเจ้าคณะอำเภอแล้ว มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กำหนดว่าให้ถือว่าไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมาย อาญา ดังนั้นไวยาวัจกรจึงได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา หากถูกผู้ใดดูหมิ่นขณะ กระทำการตามหน้าที่หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่ ผู้นั้นมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 ในทางกลับกันหากไวยาวัจกรผู้ใดทำการเบียดบังทรัพย์ที่ตนมีหน้าที่จัดการดูแลไปเพื่อ ตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริตย่อมได้รับโทษในฐานเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 (3) หน้าที่ของไวยาวัจกร 1. หน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัต 2. หน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ข้อ 3 บัญญัติว่า "ให้เจ้าอาวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัดทำ ทะเบียนทรัพย์สินที่จัดประโยชน์ ทะเบียนผู้เช่าหรือผู้อาศัยไว้ให้ถูกต้อง" และข้อ 6 บัญญัติว่า "ให้เจ้า อาวาสจัดให้ไวยาวัจกรหรือผู้จัดประโยชน์ของวัด ซึ่งเจ้าอาวาสแต่งตั้งทำบัญชีรับจ่ายเงินของวัดและ เมื่อสิ้นปีปฏิทินให้ทำบัญชีเงินรับจ่ยและคงเหลือ ทั้งนี้ให้เจ้าอาวาสตรวจตรา ดูแล เป็นไปโดย เรียบร้อยและถูกต้อง" ไวยาวัจกรจะมีอำนาจตามข้อ 2. เพียงใดขึ้นอยู่กับมีการมอบหมายเป็นหนังสือจาก เจ้าอาวาสหรือไม่ หากเจ้าอาวาสไม่ได้มอบหมายเป็นหนังสือแล้ว ไวยาวัจกรย่อมไม่มีอำนาจ ดำเนินการตามข้อ 2 ได้โดยถูกต้อง และถือว่าเป็นการกระทำไปโดยนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่หรือมิ ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หากเกิดข้อบกพร่องหรือความเสียหายขึ้น ไวยาวัจกรจะต้องรับผิดชอบตาม กฎหมาย (4) อำนาจของไวยาวัจกร ไวยาวัจกรวัดหนึ่งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ตามความเหมาะสมซึ่งเจ้าอาวาสจะ มอบหมายหน้าที่แก่ไวยาวัจกรแต่ละคนเป็นหนังสือและระบุหน้าที่ของไวยาวัจกรอย่างชัดเจน และ อาจมีเงื่อนขว่าในกรณีใดบ้างที่ต้องขออนุญาตเจ้าอาวาสก่อนจึงจะสามารถกระทำได้โดยชอบ ดังนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3