2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์
87 ไวยาวัจกรจะมีอำนาจจัดการกิจการต่างๆ แทนเจ้าอาวาสได้ต่อเมื่อได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจาก เจ้าอาวาสเท่านั้น ไวยาวัจกรเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญในการจัดการกิจการของวัดเป็นผู้ช่วยเหลือ เจ้าอาวาสเช่นเดียวกับพระภิกษุที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส จึงมีอำนาจหน้าที่จำกัด ภายในขอบเขตที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น นอกจากการนั้นเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว จะต้องรับผิดชอบ จนกว่าจะได้ส่งมอบงานในตำแหน่งหน้าที่เรียบร้อย ซึ่งจะต้องกระทำภายในระยะเวลา 30วัน นับจาก วันที่พ้นจากหน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ในกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2536) ว่าด้วยการแต่งตั้ง และถอดถอนไวยาวัจกร ข้อที่ 14 อีกทั้งในการลาออกจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาส นอกจากนั้นเจ้าอาวาสสามารถถอดถอนไวยาวัจกรได้ หากปรากฏว่าไวยาวัจกรหย่อนความสามารถ หรือปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง ไวยาวัจกรจึงเป็นบุคคลที่เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าอาวาสในกิจการต่างๆ ของวัด จะมี อำนาจหน้าที่ต่อเมื่อได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสเท่านั้น จึงมีฐานะเป็นตัวแทนของวัดในการจัดการ ทรัพย์สินของวัดเพื่อมิให้เกิดความเสียหาย และการแต่งตั้งละถอดถอนไวยาวัจกรต้องอยู่ภายใต้การ ควบคุมดูแลของเจ้าอาวาสทั้งสิ้น หากถูกเจ้าอาวาสถอดถอนเมื่อใด ความเป็นไวยาวัจกรย่อมสิ้นสุดลง ทันที จึงเห็นได้ว่าการบริหารจัดการกิจการของวัดในทุกๆ ด้าน ต้องอาศัยความร่วมมือ ของบุคลากรทุกฝ่ายภายในวัด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าอาวาส คณะกรรมการวัด หรือไวยาวัจกรประกอบกัน เนื่องจากวัดมีองค์ประกอบต่างๆ มากมายที่จะต้องบริหารจัดการ การบริหารจัดการโดยเจ้าอาวาส เพียงฝ่ายเดียวอาจทำได้ไม่ทั่วถึงและล่าช้า ประกอบกับแม้เจ้าอาวาสจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหาร จัดการกิจการภายในวัดเป็นหลักแล้วก็ตาม แต่อาจยังไม่มีความถนัดในการบริหารจัดการเท่ากับ ฆราวาสที่มีความรู้ทางโลกที่หลากหลาย เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยคณะกรรมการวัดหรือไวยาวัจกรที่ เป็นฆราวาสทำหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าอาวาสในด้านต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปด้วยความ ราบรื่นมากขึ้น แต่การที่เจ้าอาวาส คณะกรรมการวัด ไวยาวัจกรกระทำการแทนวัดจะมีผลผูกพันตาม กฎหมายเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่าได้กระทำภายในอำนาจหน้าที่และขอบวัตถุที่ประสงค์ของวัดหรือไม่ หากทำภายในอำนาจหน้าที่และขอบวัตถุที่ประสงค์ของวัดแล้ว การกระทำนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมาย และมีผลผูกพันวัด แต่ถ้าหากเป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่และขอบวัตถุที่ประสงค์ของวัด เจ้า อาวาส คณะกรรมการวัด และไวยาวัจกรจะต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนทางแพ่งและทาง อาญา โดยเฉพาะเจ้าอาวาสและไวยาวัจกรอาจต้องรับผิดตามประมอาญาฐานกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากทั้งเจ้าอาวาสและไวยาวัจกรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3