2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

88 3) คณะกรรมการวัด มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหารือกิจการต่างๆ ของเจ้าอาวาส ถ้าเห็นว่ายังเป็นปัญหาที่ ควรได้รับการพิจารณาก็จะนำปัญหาเหล่านี้มาประชุมปรึกษากันภายในคณะกรรมการวัดเพื่อลงมติ และเจ้าอาวาสก็จะดำเนินการต่อไป ถ้ากิจการใดที่เจ้าอาวาสเห็นว่ากรรมการใดสามารถดำเนินการได้ ก็ให้กรรมการรูปนั้นรับไปดำเนินการ เช่น การจ่ายนิตยภัตแก่ครูบาลี นักธรรม การบูรณะวัด การ ควบคุมดูแลคนงานวัดให้ทำความสะอาดและอบรมสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร เป็นต้น (ภิรมย์ จั่น ถาวร, 2544) สรุปได้ว่า จากการศึกษาการบริหารจัดการทรัพย์สินของทั้งศาสนาพุทธ คริสต์และ อิสลามเปรียบเทียบกันแล้วเห็นได้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ที่แต่ละศาสนาใช้ในการบริหารกิจการของศาสนา นั้น ล้วนเกิดขึ้นจากเงินบริจาคของศาสนิกชนของตนแทบทั้งสิ้น ซึ่งเงินบริจาคที่ได้รับมานั้นมักเกิดขึ้น จากความศรัทธาและความเชื่อที่ว่าการบริจาคทานเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งที่สามารถนำพาให้ตนพบ กับความสุขนิรันดร์ได้ในภายภาคหน้าประกอบกับการทำบุญด้วยการบริจาคเงินสามารถทำได้ง่ายและ สะดวก เนื่องประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพราะฉะนั้นเมื่อทรัพย์สินประเภทเงินบริจาค หลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมหาศาล จึงต้องมีระบบการจัดเก็บที่ดีเพียงพอเพื่อให้ได้เงินบริจาคเป็น จำนวนเต็มเม็ดเต็มหน่วย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละองค์กรศาสนาต้องมีรูปแบบการบริหารจัด การเงินบริจาคที่ดีและมีประสิทธิภาพเพียงพอ 2 . 14 . 2 การบริหารจัดการเงินบริจาคของวัดในพระพุทธศาสนา สำหรับประเทศไทยพุทธศาสนาได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวไทยอย่าง ใกล้ชิดเสมอมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ประกอบกับประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จำนวน วัดและพระภิกษุในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554 พบว่ามีวัดที่มีพระภิกษุทั่วประเทศไทยมีจำนวน ทั้งสิ้น38,984 วัด (สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , 2558) และพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 289,131(สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2556) รูปค่าใช้จ่ายในการสร้างวัด การปฏิสังขรณ์ศา สนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายภายในวัดจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นต้อง อาศัยการระดมทุนจากหลายแห่งโดยเฉพาะจากประชาชนซึ่งมีความใกล้ชิดกับวัดมากที่สุดรายรับของ วัดส่วนมากจะมาจากเงินบริจาคเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่น งานช่อมแซม โบสถ์หรือ ศาสน สถานอื่นๆ และเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (ณดา จันทร์สม, 2555) และถือว่ารายได้จากการบริจาคทำบุญ เป็นรายได้อันดับหนึ่งของวัดในประเทศไทย (ภิรมย์ จั่นถาวร, 2544)ยกตัวอย่างเช่น วัดพระธาตุแช่ แห้ง พบว่ามีรายรับมาจากเงินบริจาคมากที่สุดถึงร้อยละ 60 ของรายรับ(ฐิติพร สะสม, 2553)อีกทั้ง องค์การศาสนามีสัดส่วนของรายรับต่อองค์การเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2545 สูงที่สุดคือ ร้อยละ 45.1(สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2555)รายรับที่วัดได้รับมาจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆในขณะเดียวกัน รายรับขององค์การทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 136,921.6 ล้านบาทต่อองค์การหรือเฉลี่ย 2.1 ล้าน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3