2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

89 บาทต่อองค์การ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับจากการบริจาคและเงินสนับสนุนถึงร้อยละ 66.3เพราะฉะนั้นหาก รวมรายรับที่มาจากเงินบริจาคของวัดทั้งหมดทั่วประเทศแล้วอาจมีจำนวนมหาศาล ดังนั้น การศึกษา รายรับของวัดเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินบริจาคจึงเป็นการศึกษาในส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญทางการเงินของ วัดที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แหล่งรายรับของวัดยังมีที่มาจากอีกหลายทาง ได้แก่จากงบประมาณ อุดหนุนจากรัฐ แต่เดิมรัฐได้ใช้จ่ายเงินอุดหนุนวัดในอัตราที่สูงมาก และลดลงในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ ปัจจุบันรัฐยังคงตั้งงบประมาณสนับสนุนอยู่ตลอดมา โดยจัดสรรเพื่อบูรณะวัดบ้าง อุดหนุนวัดที่ ประสบวินาศภัย วัดในท้องถิ่นกันดารและวัดในเขตกันดาร เป็นต้น จากงบประมาณศาสนสมบัติกลาง จากการบริหารทรัพย์สินของวัด เช่น การให้เช่าที่ดิน อาคารต่างๆ ของวัด เพื่อทำประโยชน์ เช่น เช่า เพื่ออยู่อาศัย เช่าทำนา ทำสวน อาคารห้างร้านต่างๆ จากการให้บริการบางอย่างของวัดที่อาจมีรายได้ เป็นค่าตอบแทน เช่น การจัดงานศพหรือการจัดพิธีอุปสมบท เป็นต้น รายได้จากการจัดกิจกรรมอื่นๆ ของวัด เช่น รายได้จากการจัดงานวัด การจัดให้มีมหรสพ รายได้จากการเรี่ยไร และรายได้อื่นๆ นอกจากที่กล่าวมา เช่น เงินค่าผาติกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการสร้างเครื่องบูชา พระพุทธรูป พระเครื่อง วัตถุบูชา มูลนิธิของวัด การขายของวัด เปีดค่ายธรรมะ สำนักงาน พระพุทธศาสนาจัดให้(ณดา จันทร์สม, 2561, p. 82) รายจ่ายของวัด แม้วัดจะเป็นองค์กรที่มีค่าใช้จ่ายในการบริหารงานต่ำ แต่ก็ยังมีความ จำเป็นต้องมีรายจ่าย ดังนั้นวัดก็จำเป็นที่จะต้องมีรายได้เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานและค่าใช้จ่ายที่ จำเป็น เช่น การก่อสร้าง ช่อมแซมถาวรวัตถุ ค่าสาธารณูปโภค รวมตลอดถึงค่าใช้จ่าย อย่างอื่นแต่ เนื่องจากวัดมีสถานะต่างจากนิติบุคคลประเภทอื่นทั้งที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและนิติ บุคคลตามกฎหมายมหาชนในแง่ของการได้มาซึ่งรายได้และระบบการเงินการคลัง ทั้งนี้เพราะวัดเป็น องค์การกุศลประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่อาจหารายได้จากการทำธุรกิจดังเช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัททั่วๆ ไป ใน ขณะเดียวกันก็ไม่อาจมีรายได้จากกิจการที่ทำเสมอไป ในด้านรายจ่ายของวัด ส่วนใหญ่จะเป็น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซ่อมแซม อาคารเสนาสนะศาลาการเปรียญ โบสถ์ วิหารและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ (ณดา จันทร์สม, 2555)ซ่อมแซมบำรุงรักษาสถานที่และอุปกรณ์ภายในวัด ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่า น้ำ ค่าไฟฟ้า โทรศัพท์ ค่าน้ำมันยานพาหนะ ค่าจ้างคนที่ทำงานประจำให้กับวัด ค่าใช้ด้านปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร ยารักษโรคและอัฐบริขารอื่นๆ ค่าใช้จ่ายสำหรับพระเณรเรียนหนังสือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าสร้างวัตถุมงคล เป็นต้น จากรายงานฉบับสมบูรณ์การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทยเปิดเผยข้อมูลว่ามี เงินหมุนเวียนในรูปแบบของรายได้และรายจ่ายของระบบวัดอยู่ประมาณ 100,000-120,000 ล้าน บาทต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวจึงเห็นได้ว่ามีเงินหมุนเวียนอยู่ในระบบของวัดอยู่เป็นจำนวนมากมาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3