2566-3-สุพิชญา มูสิกะศิริ-วิทยานิพนธ์

91 2.15 ทรัพย์สินของพระภิกษุในกฎหมายต่างประเทศ 2 . 15 . 1 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประชาชนส่วนใหญ่ของเมียนมาร์นับถือศาสนาพุทธมากกว่า 45 ล้านคน จาก ประชากรเมียนมาร์ทั้งหมด 48.5 ล้านคน วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนเมียนมาร์จึงมี รากฐานมาจากแนวคิดทางพระพุทธศาสนา โดยที่คนเมียนมาร์จะมีความเคารพ ศรัทธา และเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการสร้างวัด เจดีย์ วิหาร หรือปูชนียสถานอื่น ๆ อีก มากมาย โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างวัดขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งวัด ยังได้เป็นศูนย์กลางการทางศึกษาเช่นเดียวกับประเทศไทยในอดีต พุทธศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ ของคนในเมียนมาร์ และในปีพ.ศ. 2504 รัฐบาลเมียนมาร์ได้ตรากฎหมายรับรองสถานะให้พระพุ ทศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ รวมทั้งยังได้ตรากฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา(อนุ ภูมิ โซวเกษม, 2561) มีข้อมูลทั่วไปและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของพระภิกษุ ดังนี้ 2.15.1.1 ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ไม่มีบทบัญญัติใดที่กล่าวถึงเรื่องการได้มาซึ่ง ทรัพย์สินของพระภิกษุโดย แต่มีกฎหมาย The Law Relation to the Sangha Organization เป็น หลัก ซึ่งกฎหมายฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและจัดการทรัพย์สินของวัด การควบคุมดูแลกิจกรรมทางศาสนา และการคุ้มครองพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ถูก ควบคุมโดยหลักทั่วไปของกฎหมายเมียร์มาคือ The Transfer of Property Act (1882) รวมถึง ประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติทางศาสนาซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ควบคุมการบริหารทรัพย์สินของวัด ในเมียนมาร์ การได้มาซึ่งทรัพย์สินของพระภิกษุให้เป็นไปตามกฎหมายทรัพย์ทั่วไปคือ The Transfer of Property Act (1882) เมื่อพระภิกษุได้รับการถวายแล้วทรัพย์สินนั้นเป็นสิน ส่วนตัวของพระภิกษุ สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ได้มาโดยมีผู้ถวาย และจะจำหน่ายจ่ายโอน อย่างไรก็ได้ แต่การใช้จ่ายของพระสงฆ์ พระสงฆ์ควรใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด และนำไปใช้เพื่อ ประโยชน์ของวัดหรือศาสนา ห้ามนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เนื่องจาก การบริจาคเงินและ ทรัพย์สินเป็นการส่งมอบทรัพย์สิ น 4 ข องตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนซึ่งกระทำด้วยความสมัครใ จ 5 4 The Transfer of Property Act (1882) Article 123 For the purpose of making a gift of moveable property, the transfer may be effected either by a registered instrument signed as aforesaid or by delivery

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3