การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

88 3) ท่านคิดว่ากรมชลประทานมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์เพื่อ ใช้ในกิจการของกรมชลประทาน มากน้อยเพียงใด 4) ท่านคิดว่าราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่กรมชลประทานกำหนดให้แก่เจ้าของที่ดินเป็น ธรรมหรือไม่ 5) ท่านคิดว่าการดำเนินการของกรมชลประทานนั้นจะก่อให้เกิดการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์ ชาติ 20 ปี หรือไม่ 6) ท่านคิดว่าการที่กรมชลประทานจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์ของประชาชนเพื่อจัดทำบริการ สาธารณะและประชาชนรับภาระในการจ่ายภาษีเงินได้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ณ สำนักงานที่ดิน นั้นเป็นธรรมหรือไม่ อย่างไร ส่วนที่ 3 ปัญหาอื่นและข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะ หรือข้อเสนออื่นๆของผู้ให้สัมภาษณ์ที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากฎหมาย กับการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน 3.3 เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากฎหมายกับการได้มาซึ่งที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน เพื่อเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิง คุณภาพ ดังนี้ 1) สร้างแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) 2) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ที่สร้างขึ้นให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ตรวจสอบความตรงของ เนื้อหา (Content Validity) ของข้อคำถามแต่ละข้อเพื่อหาค่าความสอดคล้องของสิ่งที่ต้องการวัดโดย การหาค่า IOC (Index of Congruence: IOC) เพื่อพิจารณาคุณภาพของข้อคำถาม ซึ่งกำหนดให้ข้อ คำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปเป็นข้อคำถามที่มีคุณภาพเหมาะสม (สุวิมล ติร กานันท์, 2554) ผลจากการวิเคราะห์แต่ละข้อคำถามพบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง ( IOC) มีค่า ระหว่าง 0.6 ถึง 1.00 ซึ่งหมายถึงข้อคำถามจากแบบสอบถามในการศึกษาครั้งนี้มีคุณภาพที่ เหมาะสม มีความถูกต้องด้านโครงสร้างเนื้อหา ภาษา และสามารถวัดในสิ่งที่จะวัดได้สอดคล้องตาม วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3) ปรับปรุงแก้ไขแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ 4) นำแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content of Validity) ยื่นต่อคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้รับการรับรองแล้วตาม แนวทางหลักจริยธรรมการวิจัยในคนที่เป็นมาตราฐานสากล ได้แก่ Declaration of Helsinki, The

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3