การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
94 จากข้อกำหนดในกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ.2564 ข้อ 2 (1) ถึง (7) ดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับ ค่ารื้อถอน ค่าขนย้าย ค่าโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ค่าอสังหาริมทรัพย์ อื่นอันติดอยู่กับที่ดิน ค่าปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างใหม่ ค่าเสียสิทธิจากการใช้ อสังหาริมทรัพย์ และค่าเสียหายอื่นอันเกิดจากการที่เจ้าของต้องออกจากที่ดินที่เวนคืน ส่งผลให้ผู้ที่ถูก เวนคืนที่ดินจากการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทาน ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการถูกเวนคืน และ ไม่ได้รับชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรม คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงต้องยึดถือหลักเงื่อนไขของกฎหมาย กล่าวคือจะต้องมี บทบัญญัติของกฎหมายชั้นพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน แต่การจัดซื้อตามคำสั่งฯ ดังกล่าว นั้น ถือเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ที่ นว 155/2500 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2500 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีนั้นมิใช่กฎหมาย หากแต่ เป็นนโยบายของ ฝ่ายบริหารจึงต้องมีกฎหมายรองรับในการนำไปปฏิบัติ แสดงให้เห็นถึงคำสั่งเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 วรรคสามที่ว่า “การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะ กระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่ อการอันเป็น สาธารณูปโภค หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของ ตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น” นอกจากนี้ พบว่า ผลของการไม่นำกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ. 2564 มาบังคับใช้นั้น ถือว่าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสียจากการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทน ทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทาน เป็นผู้ที่ถูกจำกัดสิทธิประโยชน์และไม่ได้รับความ เสมอภาคตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน สะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ส่วนการให้นำกฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ.2564 โดยให้ ความสำคัญในเรื่องของการนำค่ามัธยฐาน หมายถึงค่าของข้อมูลที่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลาง ของข้อมูล ทั้งหมดเมื่อนำข้อมูลมาเรียงลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมาก โดยนำราคาซื้อขายทั้งหมด ดังกล่าวมาหาค่ามัธยฐาน เพื่อให้ได้ราคาใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดิน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้มาใช้ในการกำหนดราคาค่าทดแทนค่าที่ดินเท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดถึงสิทธิ ประโยชน์ค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดินเลย เมื่อพิจารณาการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 เห็นว่าการจัดซื้อ ที่ดินของกรมชลประทาน มิได้เกิดจากคู่สัญญามีเสรีภาพที่แท้จริงในการตกลงเข้าผูกพันทำสัญญา เมื่อ คู่สัญญาเห็นว่าเป็นสัญญาที่ไม่ยุติธรรม เอารัดเอาเปรียบ หรือหนี้ดังกล่าวนั้นตนต้องรับภาระแห่งหนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3