การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

95 ไว้มากเกินกว่าคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งสามารถมีสิทธิปฏิเสธเข้าผูกพันตามสัญญานั้นได้ แต่ถ้าคู่สัญญาทั้ง สองได้ตกลงเข้าทำสัญญาดังกล่าวย่อมถือได้ว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยอมรับ เพราะขณะเข้าทำสัญญา นั้นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะเข้าทำสัญญาด้วยความสมัครใจไม่ได้เกิดจากการบังคับ ซึ่งการ จัดซื้อที่ดินของกรมชลประทานในส่วนของการกำหนดราคาค่าทดแทนให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นั้นเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐฝ่ายเดียวผู้ถูกเวนคืนมิได้ยินยอมด้วย จึงขัดต่อหลัก เสรีภาพในการทำ สัญญาเนื่องจากเป็นการกำหนดราคาค่าทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวที่ขัดต่อหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการ แสดงเจตนา จากการศึกษากฎหมายต่างประเทศ พบว่าการกำหนดค่าทดแทนของสหราชอาณาจักรและ ไอร์แลนด์เหนือนั้น เมื่อองค์กรผู้ใช้อำนาจเวนคืนตัดสินใจที่จะใช้อำนาจเวนคืนที่ดินแปลงใดก็จะแจ้ง ความบังคับซื้อ ไปยังเจ้าของและผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินเพื่อแสดงความประสงค์ขอซื้อที่ดินแปลง ดังกล่าวด้วยวิธีเจรจาตกลงกัน และให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำร้องเสนอราคาค่าทดแทน เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการกำหนดค่าทดแทนตามกฎหมาย หากคู่กรณีสามารถเจรจาตกลงกัน ได้สำเร็จจะมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันตามปกติ หากไม่สามารถเจรจาตกลงในเรื่องค่าทดแทนกัน ได้จะมีการส่งเรื่องให้ Lands Tribunal ซึ่งประกอบด้วยนักกฎหมายและผู้เชี่ยวชาญในด้านการ ประเมินราคาที่ดินเป็นผู้พิจารณากำหนดค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และค่าเสียหายอื่นๆ เป็นจำนวนเงิน ได้แก่ การลดค่าทดแทนกรณีที่ดินทำประโยชน์ สิทธิในการจ่ายค่าสูญเสียบ้านในกรณี ที่บุคคลพลัดถิ่น ค่าสูญเสียบ้าน ค่าสูญเสียของผู้ครอบครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ค่าชดเชยเมื่อผู้ ครอบครองได้อยู่อาศัยใหม่ ขณะที่การกำหนดค่าทดแทนของสหรัฐอเมริกามีได้ใน 3 กรณี คือ 1) วิธีการเจรจากับเจ้าของ ที่ดิน 2) วิธีการประเมินค่าทดแทนโดยคณะกรรมการ 3) วิธีการกำหนดค่าทดแทนโดยศาลฎีกาเป็นผู้ วินิจฉัยว่าเมื่อทางราชการเข้ายึดและดำเนินการยึดครองทรัพย์สินถาวรต้องให้ค่าทดแทนแก่เจ้าของ ทรัพย์สินเท่านั้นแม้ว่าพื้นที่จะเล็กและการใช้ของทางราชการไม่กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของ เจ้าของทรัพย์สินมากนัก โดยนำราคาตลาดมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาทรัพย์สินซึ่งราคาตลาดที่ เป็นธรรม คือ ราคาที่เจ้าของทรัพย์สินสมัครใจและเต็มใจที่จะขาย และผู้ซื้อเต็มใจที่จะซื้อ หากรัฐบาล นำทรัพย์สินส่วนตัวไปใช้ในที่สาธารณะ รัฐบาลจะต้องให้ "ค่าชดเชยที่เพียงพอ" In K ohl v. United States, 91 US 367.1982 ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นแม้ว่าพื้นที่จะเล็กและการใช้ของทางราชการ ไม่กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจของเจ้าของทรัพย์สินมากนัก ความสนใจ.โดยนำราคาตลาดมาเป็น เกณฑ์ในการกำหนดราคาทรัพย์สินซึ่งราคาตลาดที่เป็นธรรม คือ ราคาที่เจ้าของทรัพย์สินสมัครใจและ เต็มใจที่จะขาย และผู้ซื้อเต็มใจที่จะซื้อ นอกจากนี้ความเสียหายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ หรือผล กำไรจากธุรกิจไม่ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความเสียหายซึ่งเกิดจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตามค่าเสียหายในกรณีนี้ปัจจุบันได้รับการพิจารณาโดยอาศัยหลักราคาตลาดที่เป็นธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3