การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
97 ผลจากการสัมภาษณ์ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (เจ้าของที่ดิน) ทั้งสามกลุ่มให้ความเห็นเหมือนกันว่า ควรกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์อื่น นอกจากราคาค่าที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสีย เพราะเจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสียนั้น เป็นผู้เสียสละและเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงที่เกี่ยวกับ ค่าขนย้าย ค่ารื้อถอน ค่าเสียโอกาสจาก การเก็บผลผลิตในพื้นที่ที่ถูกเวนคืน การมิได้นำกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ.2564 มาบังคับใช้กับ คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 แสดงให้เห็นถึงความไม่เสมอภาคกันในกฎหมายที่ รองรับสิทธิของบุคคลไว้ในมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 การ กระทำดังกล่าวของรัฐสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อการเวนคืนที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นการใช้ประโยชน์สาธารณะเหมือนกัน แต่ผู้ถูกเวนคืนที่ดินจากรัฐ เหมือนกันแต่รับสิทธิประโยชน์จากรัฐที่แตกต่างกัน การกระทำของรัฐไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมที่ว่า รัฐจะกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลไม่ได้ การกระทำของรัฐต้องอยู่ ภายใต้กฎหมายและเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ว่ารัฐจะอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าเอกชนแต่รัฐ ต้องไม่กระทำสิ่งใดให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายรวมถึงความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นควรให้นำกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ.2564 มาระบุไว้ในคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 โดยเพิ่มเติม “ข้อ1.จัดซื้อและการ กำหนดราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานตามนัยพระราชบัญญัติว่า ด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดราคา เบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ.๒๕๖๔ และ กฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่า ที่ดิน พ.ศ.๒๕๖๔” เพื่อให้มีผลเป็นการบังคับใช้ได้และลดผลกระทบความเสียหาย และสร้างความ เป็นธรรมให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จากการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงาน ก่อสร้างโครงการชลประทานให้สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 4.2 การกำหนดเงินเพิ่มค่าทดแทนร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์ การจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานตามคำสั่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 เมื่อพิจารณาแล้วเห็นได้ว่าเจ้าของที่ดินไม่ได้รับความเป็น ธรรม และเสียเปรียบจากการกำหนดราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อเจ้าของที่ดิน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเงินเพิ่มร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์ แม้คณะกรรมการตามคำสั่งฯ จะได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามนัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ.2564 โดยนำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3