การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
98 มาตรา 20 ที่บัญญัติว่า การกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน ให้คำนึงถึงราคา สภาพ เหตุ และวัตถุประสงค์ ประกอบราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด ราคาประเมินที่ดินของทาง ราชการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ราคาประเมินทุนทรัพย์ เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน สภาพและ ที่ตั้งของที่ดินนั้น และเหตุและวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน การกำหนดราคาเบื้องต้นเป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ.2564 แม้เจ้าของที่ดินจะได้ ตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์และได้กำหนดราคาค่าทดแทนแล้วก็ตาม แต่จะไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่ม อีกร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด เนื่องจากคณะกรรมตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 ไม่มีอำนาจในการเพิ่ม เงินค่าทดแทนอีกร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์จากการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สิน ที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทาน ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ในหมวด 1 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืน และในส่วนที่ 3 การเจรจาตกลงซื้อขายและการเวนคืน ตามมาตรา 25 ประกอบมาตรา 26 วรรคสอง กำหนดให้ใช้ บังคับกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 และมาตรา 9 ที่ คณะกรรมการประกาศกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นแล้วเท่านั้น ซึ่งไม่ครอบคลุมถึงคำสั่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 แต่อย่างใด เนื่องจากการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทน ทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานที่กำหนดไว้ในหมวด 4 มาตรา 58 เป็นการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อย่างไรก็ตามการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ทั้ง 2 วิธี ดังกล่าว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ สาธารณะของรัฐ ดังนั้นเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สมควรต้องได้รับชดใช้ค่าทดแทนเพิ่มอีกร้อย ละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เหมือนกัน ซึ่งการกระทำของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรมที่ว่ารัฐ จะกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิของปัจเจกบุคคลไม่ได้ การกระทำของรัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ว่ารัฐจะอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าเอกชน แต่รัฐต้องไม่กระทำสิ่ง ใดให้เกิดผลกระทบและสร้างความเสียหายรวมถึงความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน นอกจากนี้การ บังคับใช้กฎหมายไม่ควรเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เนื่องจากบุคคลย่อมเสมอกันใน กฎหมาย มีสิทธิและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ซึ่งการเวนคืนอสังหาริทรัพย์เพื่อ นำไปใช้ประโยชน์สาธารณะ ย่อมต้องได้รับชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายจากการเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืน นั้นตามที่รองรับไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 และมาตรา 37 วรรคสาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3