การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

103 จากตารางแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันในการเสียภาษี ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนี้ กรณีข้อ 3. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ที่ 323/2565 ไม่ได้รับยกเว้น ขณะที่ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ส่วนกรณีข้อ 6. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ จากการการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 ไม่ได้รับยกเว้นด้านภาษี ขณะที่ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน และการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ส่วนกรณีข้อ 7. .ค่าภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะ จากการการจัดซื้อตามคำสั่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 ไม่ได้รับยกเว้นด้านภาษี ขณะที่ค่าภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี สำหรับการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 นั้น เจ้าของที่ดินได้รับ ยกเว้นเพียง ค่าธรรมเนียม และค่าอากรแสตมป์ ตามพระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ.2485 มาตรา 11 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า ในการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง โดยมิได้มีการ เวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรม เนียมและค่าอากร แสตมป์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของชลประทาน เมื่อพิจารณาถึงการดำเนินการดังกล่าวของกรมชลประทานนั้น สร้างความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดิน ซึ่งต่างจากการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการ ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เจ้าของที่ดินนั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ตามมาตรา 27 ที่บัญญัติว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 25 และการโอนที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติ กรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน และได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจ เฉพาะ และค่าอากรแสตมป์ โดยให้ดำเนินการตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร นอกจากนี้พบว่า การจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของกรมชลประทานนั้น มุ่งเน้นเพียงแต่ผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรม ชลประทานเท่านั้น แต่มิได้เร่งสร้างความเป็นธรรมให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งได้รับผลกระทบจากการ ดำเนินการดังกล่าวอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3