การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

104 ในหมวด 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ที่มุ่ง คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้กับเจ้าของที่ดิน ดังต่อไปนี้ มาตรา 59 บัญญัติว่า ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 หาก เจ้าหน้าที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ เจ้าหน้าที่ แต่กิจการนั้นมิใช่กิจการอันอาจเวนคืนได้ตามมาตรา 7 ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ได้ โดยมิต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ อสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการซื้อขายตามหมวดนี้ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ หรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณี และจะนำไปใช้เพื่อการใดอันอยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรือหน้าที่ และอำนาจของเจ้าหน้าที่ และภายใต้บังคับแห่งกฎหมายจะโอนให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐก็ได้ มาตรา 60 บัญญัติว่า ก่อนดำเนินการจัดซื้อ ให้เจ้าหน้าที่เสนอต่อคณะกรรมการตามมาตรา 19 เพื่อกำหนดราคากลางของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดตาม มาตรา 20 (1) (2) (3) และ (4) ในกรณีที่เจ้าของยินยอมขายอสังหาริมทรัพย์ในราคาที่ไม่สูงกว่าราคากลางตามวรรคหนึ่ง ให้ เจ้าหน้าที่ดำเนินการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นและดำเนินการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นมาเป็นของ เจ้าหน้าที่หรือกระทรวงการคลัง แล้วแต่กรณีโดยเร็ว ให้นำความในมาตรา 27 มาใช้บังคับกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นของกรมชลประทานนั้น สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการใช้อำนาจรัฐ โดยมิได้เคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของหลักคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและยุติธรรม โดยกรมชลประทานจะต้องปฏิบัติต่อ ประชาชนโดยเสมอภาคและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอสำหรับทุกคน หลักการให้ความเสมอภาคถือเป็น หลักปฏิบัติที่สำคัญยิ่งในการปกครอง กรมชลประทานจะต้องคำนึงถึงจิตใจของผู้อยู่ใต้ปกครอง และ จะต้องให้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคภายใต้หลักนิติรัฐ จากการดำเนินการอันเป็นประโยชน์ สาธารณะเพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน เพื่อประโยชน์ของผู้ถูกเวนคืนและผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากการเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมและได้รับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ตามมาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน เมื่อพิจารณามาตรการทางภาษีจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ให้กับรัฐของกฎหมาย ต่างประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ พบว่า ในเครือรัฐออสเตรเลีย ได้กำหนดค่าเสียหายอื่น ที่ผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่มีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งได้แก่ มูลค่าพิเศษที่เกิดกับที่ดินโดยเหตุที่ที่ดิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3