การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

106 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับโดย อนุโลม” เพื่อให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจ เฉพาะ ในเรื่องของมาตรการทางภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของชลประทาน ซึ่ง จะต้องได้รับการยกเว้นภาษีทุกประเภทเช่นเดียวกับการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน และการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง จากการ จัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานตามคำสั่งกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 4.4 สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ การจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น เจ้าของที่ดินไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิใด ๆ เลย ซึ่งต่างจากการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เจ้าของที่ดินได้รับการคุ้มครองสิทธิ (ได้รับสิทธิอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรี ภายใน 90 วัน) ตามมาตรา 49 วรรคแรก ที่บัญญัติว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 40 ผู้ใดไม่พอใจเงินค่าทดแทนที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายตามมาตรา 25 และเงินค่าทดแทน เพิ่มเติมตามมาตรา 26 วรรคสอง เงินค่าทดแทนที่ได้รับหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 28 วรรค สอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเงินจากเจ้าหน้าที่หรือรับเงินที่วาง ไว้ ทั้งนี้ผู้วิจัยเห็นว่า กรมชลประทานจะต้องดำเนินการตามคำสั่งฯ ดังกล่าว ภายใต้หลักนิติธรรม เพราะกฎหมายที่ดีต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือสิทธิขั้นพื้นฐาน หมายความว่ากฎหมายที่ดีจะต้องสองคล้องและสนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ทั้งนี้เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิดไม่สมควร ที่รัฐหรือผู้มีอำนาจออกกฎหมายจะพรากสิทธิดังกล่าวไปจากผู้นั้น นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมที่ดี ต้องเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ หมายความว่าในกรณีที่มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่โดยมีการนำคดี หรือข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลในกระบวนการยุติธรรมแล้ว และเมื่อมีคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่ง กฎหมายควรจะบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวมีโอกาสได้อุทธรณ์คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งนั้นได้ตามขั้นตอนและกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ หากพิจารณาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2564 เรื่องพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่ กล่าวคือแม้ว่ามาตรา 34 ซึ่งบัญญัติว่า การร้องขอรับเงินที่วางไว้ ตามมาตรา 31 ให้ร้องขอรับภายใน สิบปีนับแต่วันที่มีการวางเงิน ถ้าไม่ร้องขอภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้น ให้เงินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3