การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
107 โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เป็นบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิ และเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “การตรากฎหมายที่มีผลเป็น การจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ กฎหมายดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัด สิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล มิได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย” และวรรคสอง บัญญัติ ว่า “กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณี หนึ่งหรือแก่บุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง” หลักการเรื่องสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลนั้น รัฐธรรมนูญรับรองไว้ในมาตรา 37 เพื่อประกัน ความมั่นคงในการถือครองทรัพย์สิน บุคคลที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยชอบรวมถึงการรับมรดกย่อมได้รับ ความคุ้มครองความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง รวมทั้งสิทธิใด ๆ ในการใช้สอยหรือ จำหน่ายจ่ายโอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองย่อมใช้หลัก กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ถึงความชอบธรรมในการครอบครองและใช้ประโยชน์ จากอสังหาริมทรัพย์ที่ตนมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดยสมบูรณ์ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 17 ที่ว่า “ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยตนเองและโดยร่วมกับ ผู้อื่น และบุคคลใดจะถูกเอาทรัพย์สินไปจากตนตามอำเภอใจไม่ได้” อันถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ บุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้การจำกัดสิทธิในทรัพย์สินดังกล่าวได้ก็แต่โดยกฎหมายให้อำนาจเท่านั้น ซึ่งการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินโดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายภายใต้ พื้นฐานความจำเป็นและประโยชน์ของสังคมที่รัฐต้องเข้าถือเอาทรัพย์สินของเอกชนมาใช้เพื่อ ประโยชน์ของรัฐอันเป็นประโยชน์ที่มีความสำคัญต่อสังคมส่วนรวม รัฐธรรมนูญ มาตรา 37 วรรคสาม และวรรคสี่ กำหนดของเขตการใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้เป็นการทั่วไปว่าจะต้อง กระทำโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การ ป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้อง ชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความ เสียหายจากการเวนคืน โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบต่อผู้ถูกเวนคืน รวมทั้งประโยชน์ที่ ผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับจากการเวนคืนนั้น การชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมเป็นหลักการและสาระสำคัญ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองไว้ โดยกำหนดให้รัฐต้องชดใช้ให้แก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิใน อสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืน เพื่อชดเชยเยียวยาความเสียหายที่บุคคลนั้นได้รับจากการเวนคืน เพื่อเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3