การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

114 ที่ให้มีอำนาจหน้าที่ระบุเพียงว่า การจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้าง โครงการชลประทานตามนัยแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ. 2564 โดยมิได้ นำกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ.2564 มาบังคับใช้กับการจัดซื้อและ กำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างชลประทานแต่อย่างใด เป็นการสร้างความไม่เป็น ธรรมแก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีส่วนได้เสียจากการที่ต้องสละและสูญเสียที่ดินให้กับการทำ สาธารณูปโภคอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์เงินค่าทดแทน 7 ประการดังกล่าวนั้น จากการดำเนินการของกรมชลประทานนั้น สะท้อนให้เห็นถึง การใช้อำนาจหน้าที่ของกรม ชลประทานจะต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และต้องใช้อำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้ ภายใต้หลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ เท่านั้น แม้กรมชลประทานจะมีอำนาจเหนือกว่าเอกชนในการ ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ ดังนั้นกรมชลประทานจะต้องคำนึงถึงหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการ แสดงเจตนา กล่าวคือ บุคคลมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกันตามกฎหมาย สามารถเข้าใจความ ได้เปรียบหรือเสียเปรียบของตนเองในการเข้าทำสัญญา กฎหมายจึงถือว่าคู่สัญญามีฐานะในการรับรู้ และต่อรองเท่าเทียมกัน และปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญานั้น ตามหลัก “สัญญาต้องเป็นสัญญา” เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรม ชลประทาน โดยการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 กับการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน โดยการ จัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 พบว่า การได้มาซึ่งที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ โดยการจัดซื้อตามคำสั่งฯ ดังกล่าว ทำให้เจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสียนั้น เสียเปรียบโดยไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกำหนดราคาค่าทดแทนตามคำสั่งฯ ดังนั้น เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมกับเจ้าของที่ดิน เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ให้นำกฎกระทรวง เรื่องกำหนดเงินค่าทดแทนอื่น นอกจากค่าที่ดิน พ.ศ. 2564 มาบังคับใช้กับการจัดซื้อตามคำสั่งฯ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่อง ของค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน ที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ควรจะได้รับการชดใช้ที่เป็นธรรมจาก ทางภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 37 วรรคสาม ทั้งนี้เพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างความเป็นธรรมให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีส่วนได้สีย จากการ ดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะของกรมชลประทานอย่างแท้จริง 2. การกำหนดเงินเพิ่มค่าทดแทนร้อยละสองของราคาอสังหาริมทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า การกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานตามคำสั่งกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ที่ 323/2565 พบว่า เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านเงินเพิ่มร้อยละ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3