การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 ร้อยละ 82.50 ของความต้องการน้ำทั้งหมด ในจำนวนนี้อยู่ในเขตที่มีแหล่งกักเก็บน้ำและระบบ ชลประทานอยู่แล้ว 65,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีก 48,960 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นความ ต้องการน้ำเพื่อการเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก (คัดเฉพาะการปลูกฤดูฝน เท่านั้น) รองลงไปเป็นการใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศประมาณ 7,715.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อย ละ 12.35 ของความต้องการน้ำทั้งหมด) เพื่อการอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยวประมาณ 2,037.63 ล้านลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 3.26 ของความต้องการน้ำทั้งหมด) และการอุตสาหกรรม 1,177.40 ล้าน ลูกบาศก์เมตร (ร้อยละ 1.89 ของความต้องการน้ำทั้งหมด) (กรมทรัพยากรน้ำ, 2563) นอกจากนี้ จากความต้องการใช้น้ำรวมของประเทศที่มีอยู่ประมาณ 151 ,750 ล้านลูกบาศก์ เมตรนั้นสามารถแบ่งออกเป็นความต้องการที่สามารถจัดการได้ทั้งสิ้นประมาณ 102 ,140 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิดจากปริมาณน้ำที่สามารถเข้าถึงตามแหล่งน้ำในรูปแบบต่าง ๆ ได้ อาทิ แหล่งเก็บ กักน้ำ อาคารพัฒนาแหล่งน้ำแหล่งน้ำ/ลำน้ำธรรมชาติ และน้ำบาดาล เป็นต้น ในขณะที่อีกกว่า ประมาณ 49,610 ล้านลูกบาศก์เมตรนั้นเป็นความต้องการน้ำที่ยังไม่สามารถจัดการได้ ซึ่งประกอบไป ด้วยการจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทาน และความต้องการน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บางส่วน การพัฒนาชลประทานในอดีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 มุ่งเน้นการกระจายน้ำโดยการขุดคลอง เชื่อมโยงน้ำระหว่างแม่น้ำสายหลักในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ ต่อมาในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ได้มีการพัฒนาอาคารทดน้ำตามแม่น้ำสายหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผันน้ำเข้าสู่ ระบบคลองในบริเวณที่ราบลุ่มภาคเหนือตอนบนและภาคกลาง ทำให้การเกษตรชลประทานได้ ขยายตัวมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการเกษตรชลประทานในยุคนั้นยังคงมีข้อจำกัด เนื่องจากยังไม่มีการ พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ทำให้ยังคงประสบ ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งตามฤดูกาล ภายหลังที่ได้มีการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ทำให้ปัญหาอุทกภัยบรรเทาลงมากโดยช่วยลดระดับน้ำสูงสุดของแม่น้ำ เจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ได้เฉลี่ย 1.44 เมตร และมีปริมาณน้ำสำรองในอ่างเก็บน้ำสำหรับ จัดสรรเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ทำให้สามารถขยายพื้นที่เกษตรชลประทานและการเพาะปลูกในฤดู แล้งได้อย่างรวดเร็ว ในระยะต่อมาได้มีการกระจายการพัฒนาแหล่งน้ำและการเกษตรชลประทาน ขนาดใหญ่และขนาดกลางออกไปทั่วประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในระดับท้องถิ่น โดยการก่อสร้างแหล่ง น้ำขนาดเล็กกระจายตามพื้นที่ชุมชนในชนบท ข้อมูล ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรทั้งสิ้น 149.25 ล้านไร่ ซึ่งจากพื้นที่การเกษตรเหล่านี้มีพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานทั้งหมดใน ประเทศไทยทั้งสิ้น 60.29 ล้านไร่ โดยในปัจจุบันกรมชลประทานได้มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทานไป

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3