การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
3 แล้วทั้งสิ้น 31.83 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 52.79 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพทั้งหมด แบ่งออกเป็นพื้นที่ ชลประทานจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่จำนวน 17.97 ล้านไร่ พื้นที่ชลประทานจากโครงการ ชลประทานขนาดกลาง (กรมชลประทานดูแล) จำนวน 6.69 ล้านไร่ และพื้นที่ชลประทานจาก โครงการชลประทานขนาดเล็กจำนวน 7.18 ล้านไร่ (กรมทรัพยากรน้ำ, 2558) ดังนั้นเพื่อให้กรมชลประทานดำเนินการให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำ ปี พ.ศ.2558 – 2569 และจะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น อันจะ ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นใช้วิธีการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของเอกชน เพื่อใช้ในการดำเนินการให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ ในประเทศไทยมีกฎหมายแม่บทกลางซึ่งใช้บังคับเป็นการทั่วไปในเรื่องการเวนคืนคือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 และกฎหมายลำดับ รองคือ กฎกระทรวง เรื่องกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ. 2564 และกฎกระทรวง เรื่องกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ. 2564 การได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทานนั้น มิได้มีแต่เพียงการ เวนคืนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 2027/2562 อีกด้วย เพราะการจัดซื้อดังกล่าว ถือเป็นวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามมาตรา 5 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงต้องยึดถือหลักเงื่อนไขของกฎหมาย กล่าวคือจะต้องมีบทบัญญัติ ของกฎหมายชั้นพระราชบัญญัติให้อำนาจไว้อย่างชัดเจน แต่การจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ฯ ดังกล่าวนั้น ถือเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีหนังสือกรมสารบรรณคณะรัฐมนตรีฝ่าย บริหาร ที่ นว 155/2500 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2500 ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีนั้นมิใช่กฎหมาย หากแต่เป็น นโยบายของฝ่ายบริหาร จึงต้องมีกฎหมายรองรับในการนำไปปฏิบัติ เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญใน การให้อำนาจหน้าที่คณะกรรมการฝ่ายจัดซื้อนำไปปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 2027/2562 เดิมนั้น มีลักษณะที่เจ้าของที่ดินจำต้องรับเงื่อนไขข้อกำหนดในสัญญาและสร้างความไม่ เป็นธรรมแต่อย่างใด ต่อมาได้มีการประกาศยกเลิกคำสั่ง และแต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อขึ้นใหม่เป็นคำสั่งกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ที่ 323/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สิน เพื่อการชลประทาน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ในหน้า 2 ระบุไว้ว่า “1.จัดซื้อและกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเขตงานก่อสร้างโครงการชลประทานตามนัยแห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 ประกอบกับ กฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ.2564” เป็นการให้อำนาจหน้าที่กรม ชลประทานเป็นผู้กำหนดราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามนัยมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติว่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3