การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
7 จังหวัดตรัง เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเพื่อเก็บกักน้ำ ไว้ใช้ใน การเกษตรกรรม โครงการแก้มลิงบ้านท่ามะปราง จังหวัดตรัง 1.5.3 ขอบเขตผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ในการเก็บรวบรวมในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 1.กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากกรมการปกครอง เจ้าหน้าที่จากกรมธนารักษ์ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา เจ้าหน้าที่กองช่างจาก องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่จากสำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน 2.กลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานภาคสนาม ได้แก่ ปลัดอำเภอผู้ประสานงานประจำตำบล กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในเขต พื้นที่โครงการก่อสร้างฯ นักวิชาการที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา นายช่างชลประทาน กรม ชลประทาน 3.กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ เจ้าของที่ดินหรือผู้มีส่วนได้เสีย จากการดำเนินการอันเป็น ประโยชน์สาธารณะเพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ได้ทราบถึงปัญหาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรม ชลประทาน เกี่ยวกับกฎกระทรวงกำหนดเงินค่าทดแทนอื่นนอกจากค่าที่ดิน พ.ศ.2564 การ กำหนดค่าทดแทนเงินเพิ่มร้อยละสองอสังหาริมทรัพย์ และการไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมถึงการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ จาก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน 1.6.2 ได้ทราบถึงมาตรการทางกฎหมายไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน 1.6.3 ได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ ในกิจการของกรมชลประทาน อีกทั้งยังสามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ อันเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน หน่วยงานกรมชลประทาน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 323/2565 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียจากการให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้ในกิจการของกรมชลประทาน 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ “เวนคืน” หมายความว่า การให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่มิใช่ของรัฐ ตาม เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ แต่ไม่รวมถึงการให้ได้มาโดยวิธีการซื้อขายตาม มาตรา 33 วรรค สอง มาตรา 34 มาตรา 35 และหมวด 4 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย “การได้มา” โดยทางนิติกรรมนั้น มีความหมายกว้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน การให้ จำนอง หรือแม้กระทั่งตีใช้หนี้ ก็ถือว่าเป็นการได้มาโดยนิติกรรมทั้งสิ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3