การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนากฎหมายกับการได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้ในกิจการของกรม ชลประทาน ศึกษากรณีการจัดซื้อตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี หลักการ กฎหมายประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1.ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของการถือครองสิทธิในที่ดินของประเทศไทย 2.แนวคิดและความหมายของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 3.แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม 4.แนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคภายใต้หลักนิติรัฐ 5.แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 6.ทฤษฎีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ 7.หลักนิติรัฐกับการใช้อำนาจรัฐ 8.หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา 9.หลักเสรีภาพในการทำสัญญา 10.ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี พ.ศ. (2560-2579) 11.กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทย 12.กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของต่างประเทศ 13.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของการถือครองสิทธิในที่ดินของประเทศไทย ในสมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเจริญรุ่งเรืองมาก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการผลิตแบบเดิมที่ ผลิตเพื่อยังชีพมาสู่การผลิตเพื่อการค้า เริ่มเกิดค่านิยมในเรื่องทรัพย์สินเกิดการก่อตัวของชนชั้น นายทุน เริ่มมีการกว้านซื้อที่ดินเป็นจำนวนมากจากพวกนายทุนในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อพระองค์ได้ทรง อ้างหลักกฎหมายว่า “พระมหากษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสิ้นแต่ผู้เดียว” จึงได้ไปยึดหรือเวนคืนที่ดิน ของราษฎรมาใช้ในการสร้างวัด โดยพระองค์มักพระราชทานที่ดินแปลงอื่นให้กับราษฎรเป็นการ แลกเปลี่ยน มิได้เอาที่ดินของราษฎรมาเปล่า ๆ เหมือนอย่างในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลที่ 4 ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ภายหลังจากที่ได้มีการทำสัญญาทางพระ ราชไมตรีกับประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเดนมาร์ก เป็นต้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3