การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
10 รัฐบาลยอมให้ชาวต่างชาติมีสิทธิซื้อที่ดินได้ในเขตที่กำหนดให้ และเมื่อมีการขุดคลองและถนนมากขึ้น ทำให้ที่ดินมีราคาสูงขึ้น จึงได้มีประกาศเรื่องจำนำและขายฝากที่ดิน โดยบัญญัติว่าการซื้อขายจะถือ เป็นเด็ดขาดได้ต่อเมื่อเจ้าของเดิมยอมมอบโฉนดตราแดงให้แก่ผู้ซื้อ แสดงให้เห็นว่าเริ่มมีการยอมรับ สิทธิที่ดินของเอกชนเพิ่มมากขึ้น มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน แม้จะมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ใน การเก็บภาษีก็ตาม แต่ก็อาจใช้แสดงสิทธิในที่ดินได้ในทางอ้อม (ยืนหยัด ใจสมุทร, 2544) ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรมโยธาธิการหรือสุขาภิบาลสั่งให้บรรดาประชาชนที่อยู่ในเขตที่จะถูกตัด ถนน รื้อถอนโรงเรือนของตนภายในกำหนดเวลา โดยไม่ได้รับเงินค่าชดเชยเลย แต่ใน พ.ศ. 2442 เมื่อ มีการตัดถนนราชดำเนินและถนนเทวียุรยาตร ทรงมีพระราชดำริว่า การปฏิบัติแต่ก่อนไม่ได้เป็นธรรม เนียมอันดีและต้องด้วยความชอบธรรม เพราะทำให้เจ้าของที่ดินบางรายได้ประโยชน์ บางรายเสีย ประโยชน์ จึงเปลี่ยนแปลงระเบียบการจัดการที่สร้างถนนใหม่ ให้กรมโยธาธิการซื้อบรรดาที่ดินที่ต้อง ตัดถนนกับบรรดาที่ดินริมถนนในท้องที่ตำบลก่อน ล่วงมาแล้วหนึ่งปี ถ้าเจ้าพนักงานและเจ้าของที่ดิน ริมถนนที่ได้ขายให้กับเจ้าพนักงานมีโอกาสได้คืนตามราคาทุนเงินสร้าง สองปีต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์ในการเวนคืน ว่าการเวนคืนที่ดินของเอกชนนั้นจะต้องปฏิบัติตาม ประกาศกรมโยธาธิการ ลงวันที่ 13 มกราคม ร.ศ. 110 ซึ่งการเวนคืนตามประกาศนี้จะต้องจ่ายเงิน สำหรับค่ารื้อถอนและค่าที่ดินสำหรับเอกชนผู้เป็นเจ้าของด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงเริ่มมีการรวบรวมข้อบังคับในการกำหนดค่าชดเชยให้แก่เจ้าของที่ดินให้ เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน และมีการออกพระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟและทางหลวง พ.ศ. 2464 ขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างทางรถไฟและก่อสร้างทางหลวงด้วย โดยได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการจ่าย ค่าชดเชยว่า เงินค่าทำขวัญที่จะจ่ายให้เจ้าของที่ดิน ให้กำหนดตามราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ใน วันที่ออกประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน โดยมีกรรมการจัดซื้อที่ดิน 3 คน เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยให้ตกลงเรื่องราคากับผู้ถูกเวนคืนก่อน หากตกลงกันไม่ได้ให้จัดตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นมา ตัดสิน นอกจากนี้ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า ทางการจะเข้าครอบครองที่ดินได้ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงิน ค่าทำขวัญแล้วเท่านั้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ในสมัยรัชการที่ 7 สภาผู้แทนราษฎรได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ออกมาใช้เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการสาธารณูปโภคทั่วไป ไม่เฉพาะ เพื่อกิจการใดกิจการหนึ่งดังแต่ก่อน แม้จะเป็นการเปลี่ยนหลักการเดิมซึ่งเคยถือว่าที่ดินเป็นของ พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจจะเรียกกลับคืนได้เสมอ ตามแต่จะมีพระราช ประสงค์ โดยอำนาจออกกฎหมายเวนคืนได้ตกมาเป็นของสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็ตาม แต่ร่องรอย แนวความคิดเดิมก็ยังคงหลงเหลืออยู่ เพราะได้มีการนำคำว่า “เวนคืน” มาใช้ในลักษณะนี้เป็นครั้ง แรก อันแสดงความหมายว่าราษฎรได้เวนคืนที่ดินแก่รัฐบาลเพื่อที่รัฐบาลจะได้นำที่ดินนั้นไปดำเนิน กิจการสาธารณูปโภคตามวัตถุประสงค์ในฐานะที่รัฐบาลเป็นเจ้าของที่ดินนั้นอยู่แต่เดิม โดยที่ราษฎรมี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3