การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
11 สิทธิรับเงิน “ค่าทำขวัญ” เป็นการชดเชยที่ดินที่ต้องเวนคืนแก่รัฐบาล อย่างไรก็ ตามเมื่อมี พระราชบัญญัติเวนคืนฯ ออกมากำหนดหลักเกณฑ์ไว้เป็นที่แน่นอนตายตัวแล้ว ย่อมเป็นหลักประกัน แก่ราษฎรว่ารัฐบาลจะไม่บังคับเอาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ไปโดยอำเภอใจเช่นแต่ก่อนอย่างน้อย จะต้องเอาไปเพื่อกิจการอันเป็นสาธารณะประโยชน์และราษฎรยังมีสิทธิได้รับค่าทำขวัญมาเป็นการ ทดแทนไม่ได้สูญเสียไปโดยมิได้สิ่งใดตอบแทนกลับมา ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2477 ออกมาใช้ได้ 27 ปี รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ได้ออก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้แทนฉบับเดิม มีเหตุผลว่าฉบับเดิมใช้มานานแล้ว สมควรปรับปรุงเหมา ะสมกับกาลสมัยประกอบกับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ก็ได้บัญญัติ เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐจะกระทำมิได้เว้นแต่จำเป็นเพื่อการ อัน เป็นสาธารณูปโภค หรือการอันเป็น ในการป้องกันประเทศโดยตรง หรือการได้มาซึ่ง ทรัพยากรธรรมชาติ หรือประโยชน์อย่างอื่นของรัฐ และต้องชดใช้ค่าทดแทนอันเป็นธรรมให้แก่ เจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการโอนกรรมสิทธิ์นั้น และมาตรา 5 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวก็ได้นำถ้อยคำในรัฐธรรมนูญมาบัญญัติไว้ว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งรัฐต้องการเพื่อ กิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ โดยตรง หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือประโยชน์อย่างอื่นของรัฐนั้น เมื่อมิได้มีการตกลงใน เรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้เวนคืนตามบทบัญญัตินี้ แม้มาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว จะมิได้กล่าวถึงการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้โดยเฉพาะ แต่กล่าวถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ เอกชนมาเป็นของรัฐ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินทุกประเภท ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ที่ตราออกมาใช้ใหม่ก็ยังใช่คำว่า “เวนคืน” เช่นเดิม ซึ่งถือเป็นการเดินตามแนวความคิดที่มีมาตั้งแต่โบราณว่าที่ดินเป็นของ พระมหากษัตริย์ แต่เปลี่ยนถ้อยคำจาก “ค่าทำขวัญ” มาเป็น “ค่าทดแทน” ตามที่ระบุไว้ ใน รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามเมื่อมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ได้กำหนดให้นำราคาปานกลางของที่ดินซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แห่งการเสียภาษีบำรุงท้องที่ สภาพและทำเลของทรัพย์สินที่ต้องเวนคืน มาพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทนด้วย แม้รัฐบาลได้ตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปในการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์แล้วก็ตาม หน่วยงานของรัฐบาลบางหน่วยงานก็ยังมีกฎหมายเวนคืนของตัวเองมาใช้ บังคับทำให้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนอสังริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับ ซึ่งในมาตรา 5 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดว่าถ้ามิได้ตกลงเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัตินี้ และในวรรคสองกำหนดว่าในกรณีที่บทบัญญัติว่าด้วยการ เวนคืนในกฎหมายอื่น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3