การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
12 โดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว เมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ ซึ่งแสดงว่าแม้ หน่วยงานของรัฐจะมีกฎหมายเวนคืนของตนเองได้ดังกล่าวมาแล้ว แต่หากจะต้องมีการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนทุกครั้ง ย่อม จะต้องให้ดำเนินการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งมี หลักเกณฑ์ที่ใช้ได้เป็นการทั่วไปและเป็นธรรมกว่ากฎหมายฉบับอื่น เนื่องจากสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดวิถีชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัฐผู้ปกครอง ดังนั้นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพย่อมต้องมีที่มาจากประชาชน ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันว่าในรัฐยุคใหม่นั้น การใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของ ประชาชนจำต้องกระทำผ่าน “ตัวแทนผู้ใช้อำนาจ” ซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ดังนั้นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนจึงต้องเป็นไปโดยผลของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรที่ เป็นตัวแทนของประชาชนคือ รัฐสภา กฎหมายถือเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อเป็นเกณฑ์ในการใช้อำนาจรัฐของ องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันเป็นข้อตกลงและกติกาในการใช้สิทธิต่อกันใน ฐานะเอกชน กฎหมายอาญาเป็นข้อตกลงร่วมกันของประชาชนเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดต่อกันทาง กายภาพ ต่อทรัพย์สินและเสรีภาพ และกฎหมายมหาชนเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชนว่า รัฐสามารถใช้อำนาจรัฐอันเป็นของประชาชนได้ในขอบเขตใดและประชาชนจะต้องถูกจำกัดสิทธิและ เสรีภาพอย่างไรบ้าง (สมคิด เลิศไพฑูรย์ และกล้า สมุทวณิช, 2546) 2.2 แนวคิดและความหมายของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การเวนคืน คือ การใช้อำนาจรัฐพรากเอาอสังหาทรัพย์ของเอกชนมาเป็นของรัฐ เพื่อนำมาใช้ใน งานสาธารณะภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนด้วยการชดใช้ค่า ทดแทนที่เป็นธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกาการใช้อำนาจเวนคืนดังกล่าว เรียกว่า “Eminent Domain” สำหรับประเทศอังกฤษ เรียกว่า “Compulsory Acquired” ในประเทศแคนาดา เรียกว่า “Expropriation” คำว่า “Expropriation” ถูกคิดค้นขึ้นโดยโกรเชียส (Grotius) เมื่อปี ค.ศ.1625 เพื่ออธิบายให้เห็นถึงภาพการใช้อำนาจบังคับเอาทรัพย์สินมาเป็นของรัฐ การใช้อำนาจเวนคืนอาจถือ ได้ว่าเป็นสิทธิในทางการเมืองของรัฐที่ตกทอดเป็นมรดกควบคู่กันมากับความเป็นรัฐภายใต้พื้นฐาน ของความจำเป็นและผลประโยชน์ของสังคมที่รัฐต้องเข้าถือเอาทรัพย์สินบรรดาที่เป็นของสมาชิกใน สังคมมาใช้เพื่อประโยชน์ของรัฐ อันเป็นประโยชน์ที่มีความสำคัญต่อสังคมโดยส่วนรวมยิ่งกว่าเป็นที่ ยอมรับกันว่าในสังคมการเมืองของรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย รัฐมีภารกิจที่สืบเนื่องกันมาโดยตลอดคือ หน้าที่ในการพิทักษ์รักษาการดำรงอยู่ของตนเอง ป้องกันและส่งเสริมผลประโยชน์และสวัสดิการของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3