การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
13 สังคม การพรากทรัพย์สินของเอกชนเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินภารกิจดังกล่าวของรัฐจึงเป็นสิ่งที่ สามารถกระทำได้โดยชอบธรรม การใช้อำนาจเวนคืนจึงเป็นการแสดงออกถึงความมีอธิปไตยของรัฐ อำนาจในการเวนคืนจะครอบคลุมทรัพย์สินของเอกชนทุกชนิดทุกประเภทและทุกลักษณะ รวมไปถึง สิทธิไม่ว่าจะเป็นทรัพยสิทธิหรือบุคคลสิทธิและสิทธิทุกประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับที่ดิน (นัยนา เกิดวิชัย, 2549) ความหมายของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การเวนคืน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ได้นิยาม ความหมายของคำว่า “เวนคืน” ไว้ว่า บังคับเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นตามเงื่อนไขแห่ง พระราชบัญญัตินี้ ต่อมาเมื่อมีการประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 แล้ว ก็ได้มีการบัญญัตินิยามความหมายของคำว่า “เวนคืน” ขึ้นมาใหม่ ว่า “เวนคืน” หมายความว่า การให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นที่มิใช่ของรัฐ ตาม เงื่อนไขที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ แต่ไม่รวมถึงการให้ได้มาโดยวิธีการซื้อขายตาม มาตรา 33 วรรค สอง มาตรา 34 มาตรา 35 และหมวด 4 การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยวิธีการซื้อขาย การเวนคืน ตามพจนานุกรมไม่ได้บัญญัติความหมายของคำนี้ไว้ แต่เมื่อพิจารณาแยกคำออกแล้ว จะได้ความหมายดังนี้ คือ คำว่า “เวน” ตามพจนานุกรม แปลว่า การยกให้มอบให้ ส่วนคำว่า “คืน” แปลว่า เอากลับหรือส่งกลับ ดังนั้น เมื่อแปลรวมกันแล้วตามพจนานุกรมก็มีความหมายว่า “การที่เคย เอาของที่เคยยกให้กลับคืนมา” เนื่องจากสมัยก่อนที่ดินต่าง ๆ เป็นของพระมหากษัตริย์ และ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ยกให้ประชาชนครอบครอง เมื่อพระองค์ต้องการใช้ประโยชน์ก็สามารถที่จะ เรียกคืนจากประชาชนเสียเมื่อไหร่ก็ได้ 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม แนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม ประกอบด้วยคำสองคำ คือ “นิติ” และ “ธรรม” “นิติ” (Legal) “หมายถึง กฎหมาย หรือกฎระเบียบแบบแผนที่ประกอบไปด้วยแบบแผนในการ ปกครองบ้านเมืองกับขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่นนั้น” (ราชบัณฑิตยสถาน, 2539) มีแนวคิด พื้นฐานในการเห็นพ้องร่วมกัน (General Consensus) ของคนหรือสมาชิกในประชาคมการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างคนกลุ่มน้อยที่เป็นผู้ปกครอง (Ruler) กับคนกลุ่ม ใหญ่ที่เป็นผู้ถูกปกครองหรือประชาชน (Citizen) เพื่อให้เป็นแบบแผนมาตรฐานของพฤติกรรมร่วม (Mutual Practice) ทั้งนี้ โดยอาศัยกฎเกณฑ์ของกฎหมายเป็นกรอบกำกับในการบังคับควบคุม โดยเฉพาะการควบคุมพฤติกรรมและการกระทำที่กระทบต่ออำนาจของผู้ปกครองและสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน ผู้ถูกปกครอง ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญของรัฐใน 3 ด้าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3