การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

14 ด้วยกันคือ การออกกฎหมาย (Legislative Practice), การบังคับใช้กฎหมาย (Executive Practice) และการตีความกฎหมายและพิพากษาคดี (Judicial Practice) โดยอยู่บนหลักพื้นฐานแห่งความ เชื่อถือศรัทธา (Trust) เพื่อประกันเสถียรภาพของการอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักประกัน เสถียรภาพระหว่างอำนาจอันชอบธรรมของผู้ปกครอง กับสิทธิเสรีภาพอันชอบธรรมของประชาชนผู้ ถูกปกครอง ทั้งนี้ ต้องมีการกำหนดกรอบในการจำกัดควบคุมอำนาจของผู้ปกครองไว้ให้เป็นไปที่ แน่นอนชัดเจน เช่นเดียวกันกับการกำหนดกรอบในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อเป็น หลักประกันได้ว่า ทั้งผู้ปกครองและประชาชนต่างมีเสถียรภาพในการอยู่ร่วมกัน โดยที่อำนาจของ ผู้ปกครองนั้น มิได้ใช้เพื่อการกดขี่ข่มเหงประชาชน หากแต่ใช้เพื่อการคุ้มครองสวัสดิภาพและความ ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชนเป็นหลัก ด้วยสันติวิธี (Peace) เพื่อให้สภาพแวดล้อมของรัฐ ให้เกิดสันติสุขในการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างความแตกต่างของมนุษย์ โดยไม่ก่อความขัดแย้งแตกแยก ระหว่างฝ่ายข้างมากกับฝ่ายข้างน้อย โดยไม่มีการกดขี่ข่มเหงคุกคามซึ่งกัน ระหว่างผลประโยชน์ส่วน ใหญ่กับผลประโยชน์ส่วนย่อย และระหว่างความถูกต้องของฉันทามติชั่วคราว ฝ่ายข้างมากที่ได้รับการ ยอมรับก่อนกับฝ่ายข้างน้อยที่ยังต้องรอการยอมรับในภายหลัง ซึ่งเป็นการดัดแปลงสภาวะธรรมชาติ ของสังคมมนุษย์ให้เปลี่ยนจากการต่อสู้ด้วยพละกำลังโดยใช้ความรุนแรงหรือขจัดทำลายล้างขั้น แตกหัก เป็นการแข่งขันกันด้วยกติกาที่สันติวิธีสามารถประนอมประโยชน์และหาทางออกที่เป็นสาย กลางโดยไร้ความสูญเสียของทุกฝ่ายได้ โดยใช้ความยุติธรรม (Justice) เป็นเจตจำนงร่วมอันชอบด้วย กติกา (Legality of General will) ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการในการขับเคลื่อนรัฐนั้น นำไปสู่ความ เป็นรัฐแห่งกติกาที่เกื้อหนุนให้การใช้อำนาจของผู้ปกครอง เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของรัฐไม่ใช่ ตามอำเภอใจของตน ซึ่งมุ่งสนองเป้าหมายของรัฐไม่ใช่เป้าหมายหรือประโยชน์ส่วนตนหรือพวกของ ตน เพื่อให้การทำหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นเสมือนเบ้าหลอมในการสร้างเจตจำนงร่วมอันชอบด้วยกติกาให้ เกิดขึ้นในหมู่ของกลไกสำคัญฝ่ายต่าง ๆ ของรัฐร่วมกันได้ทั้งฝ่ายการเมืองการปกครอง (Government Sector) และฝ่ายประชาชน (Private Sector) “ธรรม” (Dhamma) หมายถึง “คุณความดี คำสั่งสอน แนวทางปฏิบัติ ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง หรือกฎเกณฑ์” ซึ่งพระราชวรมุณี (ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้อธิบายคำว่า “ธรรม” คือ “สภาพที่ทรงไว้ธรรมดา ธรรมชาติ สภาวธรรม สัจธรรม ความจริง เหตุ ต้นเหตุ สิ่ง ปรากฎการณ์ ฯลฯ” (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), 2559) ส่วนความหมายของหลักนิติธรรม ตามพจนานุกรม หมายความว่า “หลักพื้นฐานของกฎหมาย” หรือ “หลักการที่เป็นกฎกติกาของกฎหมายที่ผู้บัญญัติกฎหมายจะต้องยึดถือและปฏิบัติตาม” โดย อาจจะสรุปได้ว่า หลักนิติธรรม หมายถึง หลักการปกครองภายใต้กฎหมายเป็นใหญ่ และเป็นหลักการ ปกครองที่บุคคลทั้งหลาย สถาบันและหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณะหรือเอกชน รวมไปถึงรัฐ มี ความรับผิดชอบทางกฎหมายที่ได้มีการประกาศบังคับใช้อย่างเป็นการทั่วไป มีการบังคับใช้อย่างเสมอ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3