การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 ภาคกันและสอดคล้องกับธรรมเนียมและมาตรฐานของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เป็นสากล หลักดังกล่าวนี้จะต้องเป็นมาตรการเพื่อเป็นการประกันการเคารพและปฏิบัติต่อหลักการความสุงสุด ของกฎหมาย ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย มีความโปร่งใส และยุติธรรมในการใช้กฎหมาย การรวม อำนาจ การแบ่งแยกอำนาจ การกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ความชัดเจน แน่นอนของกฎหมาย หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ ความโปร่งใสของกฎหมายและกระบวนการทาง กฎหมายทุกขั้นตอน 2.3.1 ความหมายของหลักนิติธรรม จากการศึกษาความเป็นมาของหลักนิติธรรม จะทำให้เห็นว่าหลักนิติธรรม หมายถึงหลักพื้นฐาน แห่งกฎหมาย ที่กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่ฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งต่อหลักนิติธรรม และหลักนิติธรรมนี้จะถูกล่วงละเมิดมิได้ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2555) ซึ่งอาจจำแนกความหมายของ หลักนิติธรรมได้เป็น 2 ประการ ได้แก่ หลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด หรือหลักนิติธรรมในความหมายอย่างแคบ หมายถึงหลักพื้นฐานแห่ง กฎหมาย ที่กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือการกระทำต่าง ๆ จะต้องไม่ฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งต่อ หลักนิติธรรม โดยหลักนิติธรรม หรือหลักพื้นฐานแห่งกฎหมายนี้จะถูกล่วงละเมิดมิได้ หากกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือการกระทำใด ๆ ฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งต่อหลักนิติธรรมย่อมไม่มีผลใช้บังคับ หลักนิติธรรมโดยทั่วไป หรือหลักนิติธรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึงลักษณะที่ดีของ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุดมคติของกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากฎหมายกระบวนการยุติธรรมหรือการกระทำใด ๆ จะ ไม่มีลักษณะสาระสำคัญครบถ้วนของการเป็นกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ดี หรือขาดตก บกพร่องไปบ้างก็ตาม กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือการกระทำใด ๆ ยังใช้บังคับได้อยู่ตราบ เท่าที่ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมโดยเคร่งครัด 2.3.2 สาระสำคัญของหลักนิติธรรม เมื่อได้ทราบถึงหลักความเป็นมาของหลักนิติธรรมแล้วสิ่งที่ควรทราบต่อมาคือ สาระสำคัญของ หลักนิติธรรมนั้น (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2553) แม้ว่ากฎหมายจะมีเนื้อหาที่เข้มงวดและมีบทลงโทษ รุนแรงเพียงใดก็ตามหากมีความแน่นอนชัดเจนและบังคับใช้โดยทั่วไป ไม่เจาะจงต่อกรณีใดโดยเฉพาะ และไม่บังคับให้มีผลย้อนหลัง ไม่ขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย องค์การที่ใช้อำนาจบังคับตาม กฎหมายเข้มงวดปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของกฎหมาย และในส่วนของประชาชนก็ถือว่าอยู่ ภายใต้อำนาจของกฎหมายแล้ว ที่กล่าวมาข้างต้นก็ย่อมเป็นสาระสำคัญของหลักนิติธรรม โดย กฎหมายที่จะทำให้หลักนิติธรรมปรากฏเป็นจริงได้นั้นต้องมีลักษณะสำคัญหลายประการ กล่าวคือ 1) กฎหมายจะต้องบังคับเป็นการทั่วไป ไม่เว้นแม้กระทั่งองค์กร หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ 2) กฎหมายจะต้องประกาศใช้อย่างเปิดเผย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3