การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
17 กระทำดังกล่าวเป็นความผิดและลงโทษมิได้ นอกจากนี้ หากการกระทำใดมีกฎหมายบัญญัติความผิด และโทษอยู่แล้วในขณะกระทำความผิด กฎหมายจะบัญญัติในภายหลังกำหนดให้การกระทำดังกล่าว นั้นมีความผิดและให้บุคคลต้องรับโทษที่หนักขึ้นไม่ได้ โดยการบัญญัติกฎหมายใช้ย้อนหลังแก่การ กระทำที่เกิดขึ้นมาแล้ว ย่อมเท่ากับกฎหมายมุ่งจะให้บุคคลได้รับโทษก่อนที่จะมีกฎหมาย ประชาชน ย่อมไม่ทราบหรือไม่ตระหนักว่าการกระทำของตนเองจะได้รับโทษซึ่งรุนแรงกว่าโทษอื่น ๆ กฎหมาย ดังกล่าวจึงกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าสังคมจะยอมรับได้ และกฎหมายจะ กลายเป็นเครื่องมือให้ผู้มีอำนาจที่ฉ้อฉลใช้อำนาจออกกฎหมายกลั่นแกล้งลงโทษบุคคลอื่นจึงไม่ ถูกต้อง กฎหมายที่มีโทษอันมีผลย้อนหลังในทางที่เป็นโทษจึงขัดต่อหลักนิติธรรมย่อมไม่มีผลใช้บังคับ 5) ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องมีสิทธิในการต่อสู้คดี หมายความว่าหลักนิติธรรมในข้อนี้มีขึ้นเพื่อเป็น หลักประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่สุดในกระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งผู้ต้องหา หรือจำเลยจะต้องได้รับสิทธิต่าง ๆ ในการต่อสู้คดีของตนอย่างเต็มที่ตามขั้นตอนและกระบวนการของ กฎหมาย การปิดกั้นมิให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนจะกระทำไม่ได้ 6) เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจได้เท่าที่กฎหมายให้อำนาจ หมายความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ สามารถใช้อำนาจได้ หากว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ทั้งนี้ เป็นไปเพื่อการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนซึ่งจะแตกต่างไปจากหลักพื้นฐานของกฎหมายเอกชนที่ว่าประชาชนสามารถกระทำการ ได้ทุกประการหากกฎหมายไม่ได้กำหนดห้ามมิให้กระทำไว้ ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจโดย ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ย่อมทำให้ประชาชนได้รับความ เดือดร้อนเสียหาย การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐดังกล่าวจึงไม่สามารถกระทำได้ และหากมีการฝ่าฝืน กระทำไปย่อมไม่มีผลใช้บังคับ 7) กฎหมายจะยกเว้นความผิดให้แก่การกระทำที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ได้ หมายความว่าหลักนิติธรรม ต้องมีพลวัตพัฒนาให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามการบัญญัติกฎหมายไว้เป็น การล่วงหน้า กำหนดให้การกระทำใดที่ยังมิได้เกิดขึ้นให้ถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด หรือเป็น ความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้การกระทำที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังกล่าวไม่ได้รับการตรวจสอบตามกฎหมายในขณะนั้นเท่ากับกฎหมายเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจที่ จะกระทำอย่างใดก็ได้ตามอำเภอใจของตน กฎหมายดังกล่าวจึงขัดต่อหลักนิติธรรมย่อมไม่มีผลใช้ บังคับ 2.สาระสำคัญของหลักนิติธรรมในความหมายอย่างกว้าง ได้แก่ 1) กฎหมายที่ดีต้องมีความชัดเจน หมายความว่าการบัญญัติกฎหมายจะต้องใช้ถ้อยคำใน ลักษณะที่ชัดเจนเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือไม่ชัดเจน โดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้สามารถตีความไปได้หลายนัย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาโต้แย้งโต้เถียงต่อไป ในการใช้การตีความกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีการบัญญัติกฎหมายอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3