การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 7) กฎหมายที่ดีต้องบัญญัติตามกระบวนการและขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ หมายความว่าใน การบัญญัติกฎหมายโดยหลักการจะต้องเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีหน้าที่ตามระบอบ ประชาธิปไตย องค์กรหรือสถาบันอื่นจะบัญญัติกฎหมายได้ก็ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เช่น ฝ่ายบริหารสามารถบัญญัติกฎหมายตามพระราชกำหนดได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ แต่ก็ต้อง นำเข้าพิจารณารับรองโดยฝ่ายนิติบัญญัติอีกครั้ง หรือฝ่ายบริหารที่สามารถออกกฎหมายลำดับรองอื่น ๆ เช่น กฎกระทรวง ฯลฯ เพื่อใช้ในทางบริหารโดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายแม่บทที่ตราโดยฝ่ายนิติ บัญญัติ เป็นต้น 8) กฎหมายที่ดีต้องไม่มีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายหรือกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิดของ บุคคลหมายความว่ากฎหมายจะต้องไม่บัญญัติให้เป็นผลร้าย หรือมีผลกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ หรือ ความรับผิดของบุคคลกับการกระทำของบุคคลที่เกิดขึ้นไปแล้ว และในขณะนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติ เป็นผลร้ายหรือผลกระทบต่อสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิดของบุคคลไว้สำหรับการกระทำดังกล่าว เพราะหากให้กฎหมายมีผลย้อนหลังเป็นผลร้ายแล้วจะทำให้บุคคลต่าง ๆ ในสังคมไม่สามารถเชื่อถือ และไว้วางใจได้ว่าสิ่งที่ตนเองได้กระทำไปในปัจจุบันซึ่งชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นการกระทำที่ไม่ ชอบด้วยกฎหมายในอนาคต เช่น การเพิกถอนสัญชาติย้อนหลัง การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งย้อนหลัง เป็นต้น 9) กฎหมายที่ดีต้องมีบทลงโทษที่เหมาะสมและได้สัดส่วนกับความผิด หมายความว่าบทลงโทษที่ จำเลย หรือผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้ละเมิดกฎหมายจะได้รับจะต้องได้สัดส่วนหรือมีความสมเหตุสมผลกับ ความผิดที่ผู้นั้นได้กระทำ กล่าวคือ หากเป็นความผิดที่ร้ายแรงบทลงโทษที่ได้รับก็จะต้องรุนแรง แต่ หากเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมากบทลงโทษก็จะต้องลดหลั่นลงไป การกำหนดสัดส่วนบทลงโทษให้ สัมพันธ์กับความผิดนั้นจะช่วยส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ 10) กฎหมายที่ดีต้องมีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ และ เคารพกฎหมาย หมายความว่าบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนั้น ๆ สามารถควบคุมกิจกรรมทางสังคม อย่างใดอย่างหนึ่งตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องบังคับใช้กฎหมาย อย่างเคร่งครัด ต่อเนื่องโดยไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ และควรส่งเสริมการให้ ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านกฎหมาย ตระหนัก และเห็น ความสำคัญของกฎหมายและหลักนิติธรรมอันจะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 11) กระบวนการนิติบัญญัติต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยโปร่งใสและตรวจสอบได้ หมายความ ว่า ประชาชนจะต้องมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการนิติบัญญัติได้ในทุกขั้นตอน แสดงความคิดเห็น มีส่วน ร่วม และเสริมสร้างกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ความรับผิดตามกฎหมายให้มีความ เข้มแข็ง และอีกทั้งเป็นการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3