การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 12) กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์ หมายความว่าในกรณีที่มีการโต้แย้ง สิทธิหรือหน้าที่โดยมีการนำคดี หรือข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลในกระบวนการยุติธรรมแล้ว และเมื่อมีคำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่ง กฎหมายควรจะบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ดังกล่าวมีโอกาสได้อุทธรณ์คำพิพากษา คำวินิจฉัย หรือคำสั่งนั้นได้ตามขั้นตอนและกระบวนการที่ กฎหมายบัญญัติไว้ 13) กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวกไม่ชักช้า ด้วย ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม หมายความว่าเมื่อประชาชนมีปัญหาข้อพิพาทที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เยียวยาโดยกระบวนการยุติธรรม หรือจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลก็จะต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก กระบวนการยุติธรรมจะต้องดำเนินไปอย่างไม่ชักช้า เพราะความ ยุติธรรมที่ล่าช้าย่อมเท่ากับการปฏิเสธความยุติธรรม และขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมต้องมีน้อย ที่สุด และเป็นไปตามกรอบเวลาที่เพียงพอสำหรับทำให้เกิดทั้งความรวดเร็วและรอบคอบ 14) กระบวนการยุติธรรมที่ดีต้องส่งเสริมให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือก หมายความว่าการ ยุติข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทอันนำไปสู่คดีความ นอกจากกระบวนการยุติธรรมโดยปกติ แล้ว ควร ส่งเสริมให้มีกระบวนการยุติธรรมทางเลือกให้แก่ประชาชน เพื่อจัดการกับปัญหาที่หลากหลายด้วย วิธีการที่เหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารงานยุติธรรม และเพิ่มช่องทาง ในการระงับข้อพิพาท อันจะสร้างความปรองดองให้แก่คู่พิพาท ทำให้การบริหารจัดการทรัพยากร ภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ลดความ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เช่น การระงับข้อพิพาททางเลือก การเจรจา การไกล่เกลี่ย การประนอมข้อพิพาท อนุญาโตตุลาการ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ยุติธรรมชุมชน เป็นต้น 15) นักกฎหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีต้องมีความเป็น อิสระและความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ หมายความว่าไม่อยู่ภายใต้อาณัติ การสั่งสอน การ แทรกแซงได้จากผู้บังคับบัญชาหรือผู้อื่น เพื่อให้สามารถดำรงตนด้วยความเป็นกลางในการปฏิบัติ หน้าที่ เช่น การสั่งคดี การออกคำสั่งทางปกครองโดยปราศจากอคติไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่าย หนึ่ง เป็นต้น 16) นักกฎหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีต้องซื่อสัตย์สุจริต ยึดหลักคุณธรรมและสันติธรรม หมายความว่าจะต้องบัญญัติกฎหมายใช้ตีความกฎหมายและบังคับใช้ กฎหมายโดยยึดเจตนารมณ์ของกฎหมาย หลักคุณธรรม เมตตาธรรมและสันติธรรมด้วย ซึ่งจะเป็น ส่วนประกอบอันสำคัญทำให้การบริหารประเทศมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม 2.3.3 องค์ประกอบของหลักนิติธรรม จากการศึกษาความหมายและสาระสำคัญของหลักนิติธรรมแล้ว พบว่าองค์ประกอบของหลักนิติ ธรรมจำแนกได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3