การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
21 1. กฎหมายต้องกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่ชัดเจนโดยต้องกระทบ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้น้อยที่สุด หมายความว่ารัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีอำนาจและต้องใช้ อำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เท่านั้น องค์กรของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลา การ มีอำนาจก็เพราะกฎหมายมอบอำนาจให้ ดังนั้นรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งหลายต้องใช้อำนาจ ตามที่กฎหมายให้ไว้เท่านั้น จะใช้อำนาจเกินขอบเขตกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้ รัฐที่ยึดถือหลักนิติ ธรรม รัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่สามารถใช้อำนาจได้ตามอำเภอใจ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ต้อง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด การกระทำใดๆที่ไม่มีกฎหมายรองรับจึงไม่ชอบและไม่มีผลใช้บังคับ 2. กฎหมายต้องบังคับใช้เป็นการทั่วไปกับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ หมายความว่า กฎหมายที่จะต้องเป็นหลักเกณฑ์ที่ให้อำนาจฝ่ายปกครองออกคำสั่งบังคับหรือห้ามมิให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำการหรือละเว้นไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อปรากฎว่ามีข้อเท็จจริง หรือสถานการณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันแก่บุคคลทุกคนว่าจะได้รับ การปฏิบัติจากฝ่ายปกครองอย่างสม่ำเสมอเท่าเทียมกัน ตามหลักแห่งความเสมอภาคและไม่เลือก ปฏิบัติ 3. กฎหมายต้องไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังในลักษณะที่เป็นโทษ หรือมีโทษย้อนหลังหนักกว่าเดิม ไม่ได้ หมายความว่ากฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครองกระทำการใดจะต้องมีการแจ้งหรือประกาศให้ ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนที่จะนำไปใช้บังคับและจะใช้กฎหมายนั้นบังคับแก่การกระทำหรือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายนั้นไม่ได้ โดยข้อห้ามตรากฎหมายให้มี ผลใช้บังคับย้อนหลังนี้มีบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแทบทุกฉบับ ซึ่ง การห้ามตรากฎหมายที่ผลย้อนหลังไม่จำกัดเฉพาะโทษอาญาเท่านั้น แต่รวมถึงกฎหมายที่ให้โทษเป็น ผลร้ายย้อนหลังทุกกรณีด้วย 4. กฎหมายจะต้องไม่มีข้อความที่ขัดหรือแย้งต่อหลักแห่งความได้สัดส่วน หมายความว่า กฎหมายให้อำนาจฝ่ายปกครองออกมาใช้บังคับแก่ประชาชนต้องเป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แก่มหาชนยิ่งกว่าที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เอกชนหรือแก่สังคมโดยส่วนรวม เพราะแม้ว่า กฎหมายนั้นจะกำหนดมาตรการที่เหมาะสมและจำเป็นแก่การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ฝ่าย นิติบัญญัติตั้งไว้ก็ตาม แต่หากการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ เอกชนหรือต่อสังคมเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ส่วนรวมที่พึงได้รับก็น่าจะถือว่าเป็น กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อให้อำนาจฝ่ายปกครองกระทำการดังกล่าวขัดต่อหลักแห่งความได้สัดส่วน 5. กฎหมายต้องไม่ยกเว้นความผิดให้แก่การกระทำของบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตไว้ล่วงหน้า หมายความว่ากฎหมายที่อภัยโทษหรือนิรโทษกรรมให้แก่การกระทำที่เกิดขึ้นและ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3