การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

22 ผ่านมาแล้วสามารถกระทำได้ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมแต่การนิรโทษกรรมให้แก่การกระทำที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายให้เป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย 6. กฎหมายต้องเปิดโอกาสให้แก้ไขได้ เพื่อให้ทันสมัยและสามารถรองรับต่อความเปลี่ยนแปลง ของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม หมายความว่ากฎหมาย ต้องมีบทบัญญัติที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเพื่อที่สามารถควบคุมกิจกรรมทาง สังคมอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ทั้งการ ส่งเสริมให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านกฎหมาย ตระหนัก และ เห็นความสำคัญของกฎหมายและหลักนิติธรรมอันจะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2553) 2.3.4 ผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม ในทางปฏิบัติแล้วหากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการ ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรมย่อมตกเป็นโมฆะ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์, 2555) กล่าวคือหากกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือการกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืน ขัด หรือแย้งกับหลักนิติ ธรรมแม้รัฐธรรมนูญก็ตามถ้ามีบทบัญญัติใดขัดต่อหลักนิติธรรม ก็ย่อมหมายความว่าไม่มีผลบังคับใช้ แต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2556 วันที่ 13 มีนาคม 2556 ซึ่งศาลได้ วินิจฉัยเกี่ยวกับการดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดกับหลักนิติธรรมไว้อย่างน่าสนใจว่าใน พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 41 ซึ่งบัญญัติให้ บรรดาพยานหลักฐานและเอกสารที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าเป็นพยานหลักฐานและ เอกสารที่ได้รับฟังตามกฎหมายนั้น เป็นบทบัญญัติที่มิได้กำหนดรายละเอียด ขั้นตอนและกระบวนการ ได้มาซึ่งพยานหลักฐานแต่ในทางกลับกัน กลับบังคับให้จำเลยต้องผูกมัดตามพยานหลักฐานและ เอกสารที่ได้มาจากการสืบพยานของโจทก์ในศาลต่างประเทศที่จำเลยไม่มีโอกาสตรวจหรือรับทราบ พยานหลักฐาน หรือต่อสู้คดีได้อย่างเพียงพอ แม้รับฟังได้ว่าพยานหลักฐานของศาลต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 และมาตรา 227/1 ที่บัญญัติให้ศาลใช้ดุลย พินิจ วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้านด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อ พยานหลักฐานดังกล่าวโดยลำพังเพื่อฟังลงโทษจำเลยแต่หลักเกณฑ์ดังกล่าวก็ยังไม่เปิดโอกาสให้ศาล นำพยานหลักฐานเช่นนี้รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ จึงไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 40 (2) (3) (4) และ (7) ได้รับรองและคุ้มครองสิทธิ ไว้ อีกทั้งยังไม่สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ14.3 อันเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้า สิทธิที่จะต่อสู้ด้วยตนเองหรือผ่านผู้ช่วยเหลือทาง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3