การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
23 กฎหมาย สิทธิที่จะซักถามพยาน ซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสิทธิของจำเลย พระราชบัญญัติความร่วมมือ ระหว่างประเทศเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 มาตรา 41 จึงเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จำกัดสิทธิ เสรีภาพของบุคคล และกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิในกระบวนยุติธรรมรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักร พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) (3) (4) และ (7) ได้บัญญัติไว้ ทั้งไม่ สอดคล้องกับหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 วรรค สอง กฎหมายดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการกระทำใดหรือแม้แต่กฎหมายที่ฝ่าฝืนหรือขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมย่อมจะ บังคับใช้ไม่ได้หรือเป็นโมฆะไป และจากตัวอย่างคดีข้ างต้นก็สามารถสรุปได้ว่า การนำเอา พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 มาตรา 41 มาใช้ใน กระบวนการทางอาญาครั้งนี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 29 และมาตรา 40 (2) (3) (4) และ (7) นอกจากนี้ยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ข้อ 14.3 อันเป็นกรณีเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาต่อหน้า สิทธิที่จะต่อสู้ด้วยตนเองหรือผ่านผู้ช่วยเหลือ ทางกฎหมาย สิทธิที่จะซักถามพยาน จึงไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม ผลก็คือบังคับใช้ไม่ได้หรือตก เป็นโมฆะตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคภายใต้หลักนิติรัฐ หลักนิติรัฐมีความเกี่ยวพันกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลและหลักความเสมอภาคซึ่งทั้งสองประการ เป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รัฐเสรีประชาธิปไตยต้องยอมรับความเป็นอิสระของ ปัจเจกบุคคล และเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจึงต้องมีการนำหลักการแบ่งแยกอำนาจไป ใช้ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเพื่อให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยให้สามารถใช้อำนาจของ องค์กรต่าง ๆ ในการควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกัน (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2555) ในหัวข้อแนวคิด เกี่ยวกับหลักความเสมอภาคภายใต้หลักนิติรัฐนี้จะประกอบด้วยแนวความคิดของหลักความเสมอภาค ความหมายของหลักความเสมอภาค ประเภทของหลักความเสมอภาค โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 2.4.1 หลักความเสมอภาค หลักความเสมอภาคถือว่าเป็นหลักพื้นฐานของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ย่อมได้รับ การรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ โดยมิต้องคำนึงถึง คุณสมบัติอื่น ๆ อาทิ เชื่อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น และขณะเดียวกันก็ถือได้ว่าหลักความ เสมอภาคนี้เป็นหลักที่ควบคุมมิให้รัฐใช้อำนาจของตนตามอำเภอใจ โดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่ม บุคคลใดบุคคลหนึ่งรัฐต้องสามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดรัฐจึงกระทำการอันก่อให้เกิดผลกระทบ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3