การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
25 ระบอบประชาธิปไตยดังจะเห็นได้จากอุดมคติในการปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสอันได้แก่ เสรีภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ ประกอบกับมาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญนี้ที่ได้รับรองถึงความเสมอภาคตาม กฎหมายของประชาชนโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื่อชาติ หรือศาสนา สาธารณรัฐเคารพต่อความ เชื่อของทุกนิกายอันเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ และต่อมาประเทศต่างๆ ก็ได้นำแนวคิด ดังกล่าวไประบุในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามหลักความเสมอ ภาคอย่างเป็นรูปธรรม 2) วิวัฒนาการแนวคิดของหลักความเสมอภาค แนวความคิดเรื่องความเสมอภาคในสมัยดั้งเดิมนั้น (สมคิด เลิศไพฑูรย์, 2548) เกิดจากคำสอน ของศาสนาคริสต์ที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและระบบทาสที่มีอยู่ในยุคโรมันตามคำสั่ง สอนของศาสนาคริสต์นั้น กล่าวไว้ว่า ทุกคนเสมอเหมือนกันในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า รับรองความ เท่าเทียมกันของทุกคน ไม่มีผู้ชาย ไม่มีผู้หญิง ไม่มีทาส ไม่มีชนเสรี ทุกคนเท่าเทียมกันหมด (เกรียง ไกร เจริญธนาวัฒน์, 2556) ต่อมาในสมัยกลางระบบศักดินาได้ยกเลิกแนวคิดเรื่องความเสมอภาคโดย สร้างลำดับชั้นของสังคมขึ้น ซึ่งแปรผันตามที่ดิน และเจ้าของที่ดินเจ้าศักดินา แต่อย่างไรก็ตามความไม่ เสมอภาคดังกล่าวในสมัยกลางค่อยเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเกิดชนชั้นกลางที่เข้มแข็งขึ้นจนนำไปสู่การ เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงความไม่เสมอภาคทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ซึ่งต่อมาได้มีเอกสาร ที่แสดงออกถึงหลักความเสมอภาคที่ดีที่สุดคือปฏิญญาว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมืองฝรั่งเศส ลง วันที่ 26 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1789 โดยบัญญัติรับรองไว้ถึง 2 มาตรา ได้แก่ มาตรา 1 “มนุษย์กำเนิดและดำรงชีวิตอย่างมีอิสระและเสมอภาคกันตามกฎหมายการแบ่งแยก ทางสังคมจะกระทำได้ก็แต่เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม” มาตรา 13 “เพื่อทำนุบำรุงกองทัพและเพื่อรายจ่ายในการดำเนินงานของรัฐ จำเป็นที่จะต้องเก็บ ภาษี ซึ่งจะต้องมีการกระจายภาระภาษีอย่างเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคนโดยคำนึงถึง ความสามารถของแต่ละคน” ภายหลังแนวคิดของหลักความเสมอภาคดังกล่าวก็ได้ถูกนำไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญของเกือบทุก ประเทศเพื่อเป็นการรับรองหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้ง เช่น รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับปรับปรุง ลงวันที่ 4 ตุลาคม 1958 บัญญัติถึงหลักความเสมอภาคไว้ว่า “ฝรั่งเศสเป็นสาธารณรัฐที่ แบ่งแยกมิได้เป็นของประชาชน เป็นประชาธิปไตยและสาธารณรัฐรับรองถึงความเสมอภาคตาม กฎหมายของประชาชนโดยไม่แบ่งแยกแหล่งกำเนิด เชื้อชาติหรือศาสนา สาธารณรัฐเคารพต่อความ เชื่อทุกนิกาย” รัฐธรรมนูญเยอรมัน ฉบับปัจจุบันลงวันที่ 23 พฤษภาคม 1949 บัญญัติไว้ในมาตรา 3 1.มนุษย์ทุกคนมีความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3