การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
26 2.ชายและหญิงมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย รัฐผูกพันที่จะต้องดำเนินการให้มีความเสมอ ภาคอย่างแท้จริงระหว่างหญิงและชาย และจะต้องดำเนินการให้ยกเลิกอุปสรรคที่ดำรงอยู่ 3.บุคคลย่อมไม่ถูกเลือกปฏิบัติหรือมีอภิสิทธิ์เพราะเหตุในเรื่องเพศ ชาติกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา ชาติ ถิ่นกำเนิด ความเชื่อ หรือความคิดเห็นในทางศาสนาหรือในทางการเมือง บุคคลย่อมไม่ถูก แบ่งแยกด้วยเหตุเพราะความพิการ นอกจากนี้ยังมีเอกสารระหว่างประเทศหลายฉบับที่ได้บัญญัติรับรองความเสมอภาคไว้ เช่นเดียวกัน เช่น ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) , กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ( International Convention of Civil and Political Rights), ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา (Declaration on the Rights to Development) โดยได้ระบุหลักเกณฑ์การไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลทุกคน (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2555) 2.4.2 ความหมายของหลักความเสมอภาค ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าหลักความเสมอภาคเป็นหลักพื้นฐานสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพ จากการศึกษาพบว่าหลักความเสมอภาคนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้คำอธิบายไว้ ดังนี้ “หลักความเสมอภาค” (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2545) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า หลักความเสมอ ภาคนั้นมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับหลักเสรีภาพเนื่องจากเป็นหลักการที่จะทำให้การใช้เสรีภาพ เป็นไปอย่างเสมอกันทุกผู้ทุกคน แต่หากเสรีภาพสามารถใช้ได้เพียงบุคคลบางคนเท่านั้นในขณะที่คน บางกลุ่มบางคนเข้าถึงไม่ได้ในกรณีดังกล่าวก็ไม่ถือว่ามีเสรีภาพแต่ประการใด ความเสมอภาคจึงเป็น ฐานของเสรีภาพและเป็นหลักประกันในการทำให้เสรีภาพเกิดขึ้นได้จริง ดังนั้นหลักความเสมอภาคใต้ กฎหมายจึงเป็นหลักการที่ทำให้มีการปฏิบัติต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ อย่างเท่าเทียมกัน หรือไม่เลือกปฏิบัติ (non-discrimination) ทั้งนี้การปฏิบัติตามหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องปฏิบัติ ต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญเหมือนกันอย่างเท่าเทียมกัน และจะต้องปฏิบัติต่อสิ่งที่มีสาระสำคัญแตกต่างกัน ให้แตกต่างกันไปตามลักษณะของเรื่องนั้น ๆ จึงจะทำให้เกิดความยุติธรรมภายใต้ความเสมอภาคขึ้นได้ ขณะที่ (ปรีดี พนมยงค์, 2526) ได้อธิบายไว้ว่ามนุษย์ต้องใช้ความเป็นอิสระของตนอย่างเสมอภาคกับ เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งความเสมอภาคนี้คือความเสมอภาคในกฎหมาย คือ มีสิทธิและหน้าที่ในทาง กฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลอื่น ส่วน (มานิตย์ จุมปา, 2541) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เมื่อมนุษย์เกิดมาอยู่ ภายใต้รัฐธรรมนูญแล้วย่อมมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ซึ่งความเสมอภาคภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ หมายถึง การเสมอภาคกันในกฎหมายและเสมอภาคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบ้านเมือง 2.4.3 ประเภทของหลักความเสมอภาค หลักความเสมอภาคสามารถแยกได้ 2 ประเภท คือ หลักความเสมอภาคทั่วไป และหลักความ เสมอภาคเฉพาะเรื่อง ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3