การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
29 มาตรการดังกล่าวนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติและการเคารพต่อหลักความเสมอภาค ผู้ที่ เดือดร้อนจากการกระทำดังกล่าวจะอ้างหลักความเสมอภาคต่อรัฐไม่ได้ 4. การอ้างประโยชน์สาธารณะเพื่อไม่ต้องเคารพต่อหลักความเสมอภาคนั้นจะต้องไม่เป็นการ ก่อให้เกิดการแบ่งแยกอย่างที่ไม่สามารถยอมรับได้ การอ้างประโยชน์สาธารณะในการปฏิบัติให้แตกต่างกันนั้นแม้จะถือว่าเป็นการกระทบต่อหลัก ความเสมอภาคและก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติก็ตามที แต่อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าวนั้นจะต้องไม่ ก่อให้เกิดการแบ่งแยกที่ไม่สามารถยอมรับได้ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วก็ไม่สามารถใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวได้ การแบ่งแยกที่ไม่สามารถยอมรับได้นั้นที่เห็นชัดก็คือ การแบ่งแยกที่เป็นการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เช่น การแบ่งแยกในเรื่องแหล่งกำเนิด เชื้อชาติ ศาสนา เพศ เป็นต้น 5. การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรมมุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ การเลือกปฏิบัติที่เป็นธรรมมุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ หรือการปฏิบัติในทางบวก คือ การ ดำเนินการตามกฎหมายที่แตกต่างกันในลักษณะชั่วคราวที่ผู้มีอำนาจกำหนดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ใน การส่งเสริมและยกระดับบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสถานะด้อยกว่าบุคคลอื่นเพื่อทดแทนความ ไม่เท่าเทียมกันที่ดำรงอยู่ ซึ่งหลักการนี้เกิดจากแนวคิดของประธานาธิบดีเคนเนดี้และประธานาธิบดี จอห์นสันที่ต้องการสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมอเมริกา โดยหลักการดังกล่าวได้รับการยอมรับ ด้วยการตรากฎหมายสิทธิพลเมือง (Civil Rights Act) ขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1964 และศาลฎีกา ของสหรัฐอเมริกาดำเนินการตามหลักดังกล่าวโดยการตัดสินใจในคดี Regents of University V.Bakke 438 US265 (1987) ว่าการที่มหาวิทยาลัยสำรองที่นั่ง 16 เปอร์เซ็นต์ ของคณะ แพทยศาสตร์ให้แก่นักศึกษาชนกลุ่มน้อยต่างๆ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ ดำรงอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้หลักการเลือกปฏิบัติที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่นี้ยังได้รับการรับรอง จากศาลประชาคมยุโรปโดยมีการนำหลักเกณฑ์นี้มาตัดสินในคดี Affaire linguistique belge ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 1969 ว่า “ความไม่เสมอภาคทางกฎหมายบางประเภทมีขึ้นเพื่อแก้ไขความไม่เสมอ ภาคในทางความเป็นจริง” 2.4.5 หลักการให้ความเสมอภาคแก่ผู้อยู่ใต้การปกครอง นอกจากการที่ฝ่ายปกครองต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ฝ่ายปกครองจะต้องปฏิบัติ ต่อประชาชนโดยเสมอภาคและเป็นไปอย่างสม่ำเสมอสำหรับทุกคน หลักการให้ความเสมอภาคถือเป็น หลักปฏิบัติที่สำคัญยิ่งในการปกครอง ฝ่ายปกครองต้องคำนึงถึงจิตใจของผู้อยู่ใต้ปกครอง การ ปกครองประชาชนเพียงแต่ให้สิทธิและเสรีภาพแก่บุคคลนั้นไม่เพียงพอ แต่จะต้องให้ความเสมอภาค
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3