การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

31 ปฏิบัติแก่บุคคลหนึ่งแตกต่างกับอีกบุคคลหนึ่ง ฝ่ายปกครองจะให้สิทธิพิเศษแก่ผู้ใดผู้หนึ่ ง นอกเหนือไปจากที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ และจะบังคับให้ผู้ใดมีภาระหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติ ไว้ไม่ได้เช่นกัน กฎหมายย่อมกำหนดเงื่อนไขแห่งความเกี่ยวพันระหว่างฝ่ายปกครองกับเอกชนไว้ล่วงหน้าโดยชัด แจ้งว่าฝ่ายปกครองจะบังคับให้ปฏิบัติการหรืองดเว้นการปฏิบัติได้เพียงใด รวมทั้งขอบเขตแห่งอำนาจ ของฝ่ายปกครองที่จะล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของเอกชน เพื่อเป็นการคุ้มครองเอกชนไม่ให้ฝ่าย ปกครองสั่งหรือบังคับตามอำเภอใจ นอกจากนี้ในการใช้กฎหมาย ฝ่ายปกครองต้องเคารพต่อสิทธิและ เสรีภาพของประชาชน ถ้าฝ่ายปกครองพิจารณาเห็นว่าในกรณีใดการบังคับจะไม่ได้ผลดีแก่ประโยชน์ ส่วนรวมเหมือนกับการยกเว้น ฝ่ายปกครองก็ชอบที่จะใช้วิธีนั้นและต้องไม่ถือเอาความสะดวกในการ ปกครองเป็นใหญ่กว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชน (สัก กอแสงเรือง, 2517) การที่ให้ฝ่ายปกครอง มีอำนาจใช้ดุลพินิจได้ย่อมทำให้สามารถสนองประโยชน์สาธารณะและสามารถใช้กฎหมายบังคับได้ เหมาะสมแก่เหตุการณ์ยิ่งขึ้น เพราะในการปกครองย่อมมีเหตุการยุ่งยากซับซ้อน บทกฎหมายจะ กำหนดรายละเอียดไว้ล่วงหน้าครอบคลุมทุกกรณีย่อมทำไม่ได้ จึงต้องมอบอำนาจให้ฝ่ายปกครองใช้ ดุลยพินิจได้ในบางโอกาส เนื่องจากฝ่ายปกครองอยู่ใกล้ชิดเหตุการณ์และรู้ถึงความจำเป็นในทาง ปกครองอย่างดี จึงอยู่ในฐานะที่จะใช้กฎหมายบังคับแก่กรณีได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการใช้ ดุลยพินิจ ฝ่ายปกครองจะต้องยึดประโยชน์ของประชาชนและเจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นสำคัญ นอกจากนี้การใช้ดุลยพินิจจะได้ผลดีหรือไม่เพียงใดย่อมอยู่ที่ความสุจริตและความรอบคอบของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองด้วย 2.5 แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในส่วนนี้ประกอบด้วยหัวข้อเกี่ยวกับ พัฒนาการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ความหมายของสิทธิเสรีภาพ ประเภท ของสิทธิและเสรีภาพ และการคุ้มครองสิทธิของประชาชน โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 2.5.1 พัฒนาการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นเป็นหลักพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนที่ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคและยุติธรรม ในทางประวัติศาสตร์พัฒนาการเกี่ยวกับ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนแบ่งได้ 4 ช่วง (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2555) ดังนี้ ช่วงที่หนึ่ง เป็นช่วงพัฒนาการเกี่ยวกับเสรีภาพในทางศาสนา ซึ่งพัฒนาการเกี่ยวกับเสรีภาพ ในทางศาสนานั้นประสบผลสำเร็จทีละเล็กทีละน้อยในช่วงของการปฏิรูปทางศาสนาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีปัญหาการละทิ้งศาสนาคริสต์ ปัญหาของความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับปรัชญาและวิชาการ สมัยใหม่ได้มีความขัดแย้งกันเสมอมา เสรีภาพในทางศาสนาประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อสงคราม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3