การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
32 กลางเมืองที่เกิดจากความแตกแยกในทางศาสนาทำให้รัฐต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาด้วยเหตุนี้รัฐจึงต้องมี ความเป็นกลางในทางศาสนา การที่รัฐเป็นกลางในทางศาสนาเป็นการคลี่คลายไปสู่การเป็นรัฐสมัย ใหม่ เรื่องการนับถือศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และต้องยอมรับว่าศาสนาหรือความเชื่อนั้น จะต้องมีความจริงรวมอยู่ในศาสนาหรือความเชื่อนั้นด้วยจึงทำให้เกิดความมั่นคงต่อความเคารพใน ความเชื่อที่แตกต่างออกไปของบุคคลในสังคม ช่วงที่สอง เป็นพัฒนาการของสิทธิและเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ เสรีภาพในการทำสัญญา และเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ช่วงศตวรรษที่ 17 ผู้ปกครองได้ ดำเนินการขยายอำนาจทั้งภายในและภายนอก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวน มากเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าจ้างให้แก่กองทัพ ทำให้นโยบายในทางเศรษฐกิจโดยรวมของรัฐจึงต้องเป็น นโยบายที่สร้างความเข้มแข็งในอำนาจทางการเงินของรัฐตามแนวคิดพาณิชย์นิยม (Merkantilismus) จากพัฒนาการของสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจและหลักความเสมอภาคจึงเป็นเงื่อนไขของกระบวนการ ในการกำหนดตนเองของระบบทุนนิยมซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสังคมศักดินามาเป็นสังคมแบบ กระฎุมพี โดยการปฏิวัติของชนชั้นกระฎุมพีที่ถูกผู้ครองที่ดินกดขี่จนทำให้เกิดแนวคิดที่ให้มีการยกเลิก การดำเนินชีวิตที่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ครองที่ดินอันเป็นการละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นแนวคิด ที่มีความมุ่งหมายเพื่อมนุษยธรรม ช่วงที่สาม เป็นพัฒนาการของสิทธิและเสรีภาพซึ่งเป็นช่วงเดียวกับการพัฒนาเสรีภาพในทาง เศรษฐกิจ การพัฒนาสิทธิและเสรีภาพในช่วงที่สามนี้เป็นการพัฒนาเสรีภาพในทางประช าธิปไตย ได้แก่ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ เสรีภาพในการชุมนุม และเสรีภาพ ในการรวมกันเป็นสมาคม จากความเติบโตในทางเศรษฐกิจประกอบกับการได้รับการศึกษาของชนชั้น กระฎุมพีทำให้ชนชั้นกระฎุมพีเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองการปกครองมากขึ้น โดยต้องอาศัย เสรีภาพในทางประชาธิปไตยในการมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคมและเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็น เพื่อสนับสนุนให้หลักการดังกล่าวมีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และเป็นเครื่องมือในการเข้า ไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจรัฐ ช่วงที่สี่ เป็นพัฒนาการของสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพหรือสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคม ได้รับ การพัฒนาอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 โดยสิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคมนั้นเกี่ยวกับ ผลประโยชน์โดยรวมของสังคมได้แก่ การมีงานทำ การให้หลักประกันสำหรับอนาคต การให้ความ ดูแลทางสุขภาพ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เป็นต้น องค์ประกอบพื้นฐานของสิทธิขั้นพื้นฐานทาง สังคมมีสาเหตุสำคัญคือ การเกิดขึ้นของชนชั้นกรรมมาชีพซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกเอาเปรียบจาก กระบวนการผลิตแบบทุนนิยม จึงก่อให้เกิดจิตสำนึกของชนชั้นผู้ใช้แรงงานขึ้นและสามารถทำการ กดดันต่ออำนาจรัฐได้ แต่สิทธิขั้นพื้นฐานทางสังคมจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ถ้าไม่มีมาตรการ ทางกฎหมายมาบังคับ เนื่องจากสิทธิเสรีภาพตามความหมายดั้งเดิมนั้นไม่เพียงพอที่จะให้ความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3