การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
34 หนึ่งหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากการแทรกแซงครอบงำจากบุคคลอื่น เสรีภาพ จึงไม่ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อบุคคลแต่อย่างใด สิทธิ (Right) (มานิตย์ จุมปา, 2557) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและ คุ้มครองให้แก่บุคคลในอันที่จะกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิใน ชีวิตและร่างกาย เป็นต้น เสรีภาพ (Liberty) คือ ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของผู้อื่น มีอิสระที่จะกระทำ การหรืองดเว้นกระทำการ เช่น เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น ในขณะที่ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538) ได้อธิบายไว้ว่า สิทธิ (Right) เป็นอำนาจของบุคคลในอัน ที่จะเรียกร้องให้บุคคลอื่นอีกคนหนึ่งหรือหลายคนกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงให้ เกิดประโยชน์แก่ตน เสรีภาพ (Liberty) เป็นอำนาจของบุคคลในอันที่จะกระทำในสิ่งที่ตนประสงค์จะกระทำและที่จะ ไม่กระทำในสิ่งที่ตนไม่ประสงค์จะกระทำ 2.5.3 ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ การแบ่งประเภทของสิทธิและเสรีภาพมีหลายลักษณะซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง การแบ่งสิทธิและ เสรีภาพโดยพิจารณาจากเงื่อนไขการจำกัดสิทธิ และการแบ่งสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ รับรอง (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2555) ดังนี้ 1. การแบ่งสิทธิและเสรีภาพโดยพิจารณาจากเงื่อนไขการจำกัดสิทธิ แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ สิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขของกฎหมายทั่วไป สิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขกฎหมายพิเศษ และสิทธิ และเสรีภาพที่ปราศจากเงื่อนไขของกฎหมาย ดังนี้ สิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขของกฎหมายทั่วไปนั้น รัฐธรรมนูญเพียงแต่เรียกร้องว่าการจำกัด สิทธิและเสรีภาพนั้นอาจกระทำได้โดยบทบัญญัติของกฎหมาย แต่สิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขของ กฎหมายทั่วไปไม่ได้เรียกร้องเงื่อนไขพิเศษในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพบางประการ สิทธิและเสรีภาพกับเงื่อนไขกฎหมายพิเศษนั้น รัฐธรรมนูญเรียกร้องว่าการแทรกแซงสิทธิและ เสรีภาพโดยกฎหมายนั้นจะต้องผูกพันอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งหรือต้องผูกพันกับ วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง หรือต้องดำเนินการโดยวิธีการที่รัฐธรรมนูญบัญญัติเท่านั้น สิทธิและเสรีภาพที่ปราศจากเงื่อนไขของกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดสิทธิและ เสรีภาพนั้นไม่อยู่ภายใต้การจำกัดสิทธิโดยกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น 2. การแบ่งสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรอง (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538) สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญบัญญัติรับรองอาจจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยอาศัย หลักเกณฑ์ ดังนี้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3