การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
35 สิทธิและเสรีภาพจำแนกตามเนื้อหา สามารถจำแนกออกได้ 6 ประเภท คือ สิทธิและเสรีภาพ ส่วนบุคคล สิทธิและเสรีภาพในทางความคิดและการแสดงออกซึ่งความคิด สิทธิและเสรีภาพทางสังคม และเศรษฐกิจ สิทธิและเสรีภาพในการรวมกลุ่ม สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง และสิทธิและเสรีภาพ ในอันที่จะได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียม สิทธิและเสรีภาพจำแนกตามการคิด สามารถจำแนกออกได้ 2 ประเภท คือสิทธิมนุษยชน (Human Rights) และสิทธิพลเมือง (Citizen’s Rights) โดยสิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่พึงมี เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีมีคุณค่า หากมีการ ล่วงละเมิดย่อมได้การคุ้มครองตามกฎหมาย (อุดมศักดิ์ สิทธิพงษ์, 2555) ส่วนสิทธิพลเมือง คือ สิทธิ ในอันที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างเจตนารมณ์ของรัฐ หรือบรรดาสิทธิและเสรีภาพ ทางการเมือง ได้แก่ เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตาม ระบอบประชาธิปไตย เป็นต้น โดยสิทธิพลเมืองจะมีได้เฉพาะภายหลังจากมีรัฐเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น เนื่องจากราษฎรเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างเจตนารมณ์ของรัฐ รัฐจึงต้องกำหนดมาตรการเพื่อ คุ้มครองสิทธิของราษฎรภายในรัฐของตน (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2538) สิทธิและเสรีภาพจำแนกตามอาการที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สิทธิและเสรีภาพในมโน ธรรม (Liberty of Conscience) และสิทธิและเสรีภาพในการกระทำ (Liberty of Action) โดยสิทธิ และเสรีภาพในมโนธรรม หรือสิทธิและเสรีภาพในทางความคิด เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องที่ อยู่ภายในจิตใจ มีลักษณะสมบูรณ์ ประชาชนมีอิสระในทางความคิดและจินตนาการได้ไม่มีขอบเขต การยัดเยียดให้ประชาชนเชื่อในทางใดทางหนึ่งนั้นไม่มีทางประสบผลสำเร็จ ส่วนสิทธิและเสรีภาพใน การกระทำเป็นสิทธิและเสรีภาพในทางเคลื่อนไหวร่างกายตามที่ใจคิด แต่จะต้องมีหลักเกณฑ์ในการ ควบคุมการกระทำดังกล่าวนี้ เนื่องจากอาจกระทำการตามอำเภอใจจนไปกระทบต่อบุคคลอื่นได้ จึง ต้องมีมาตรการป้องกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายหรือกระทบต่อสิทธิของผู้อื่นหรือต่อประโยชน์ ส่วนรวม 2.5.4 การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ การรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากสำนักกฎหมายธรรมชาติที่เห็นว่า สิทธิและเสรีภาพของมนุษย์เป็นสิ่งมีค่าที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด เสรีภาพต่างๆนั้นเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและเพิกถอนไม่ได้ เว้นแต่ธรรมชาติจะเรียกคืน ในยุคแรกการคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพจะเน้นรับรองให้ปัจเจกชน ต่อมาเมื่อรัฐกำเนิดขึ้นรัฐจึงต้องใส่ใจต่อสิทธิและเสรีภาพ ของคนที่อยู่ใต้อำนาจปกครองในรัฐ โดยนำแนวคิดการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสำนักกฎหมาย ธรรมชาติมาบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อเป็นหลักประกันว่ารัฐจะใช้อำนาจปกครองโดย คำนึงถึงการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3