การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 ระยะเวลาการขอคืนและการคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนที่มิได้ใช้ประโยชน์ หรือที่เหลือจาก การใช้ประโยชน์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไปให้เป็นไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ การตรากฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยระบุเจาะจงอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของอสังหาริม ทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามความจำเป็น มิให้ถือว่าเป็นการขัดต่อมาตรา 26 วรรคสอง มาตรา 38 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือการ ผังเมือง หรือเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์ มาตรา 41 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) ได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐตามที่ กฎหมายบัญญัติ (2) เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว (3) ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ 2.6 ทฤษฎีเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะ Andre HOMONT ได้อธิบายถึงทฤษฎีประโยชน์สาธารณะไว้ในหนังสือ L’expropriation Pourcause D’utilite Publique ว่ าป ระ โยช น์ส าธ ารณ ะนั้น ไม่ ได้มีก ารนิ ย ามค ว ามหม าย (Definition) ทั้งโดย Text หรือโดย Jurisprudence แต่ประโยชน์สาธารณะนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็น เรื่องที่มีพื้นฐานของการกระทำอยู่ที่วัตถุ หรือหมายความว่าต้องอ้างอิง (Reference) ถึงเนื้อหาของ กิจกรรม (Activity) นั้นๆที่ได้มีการกระทำลงไปและถ้าการกระทำนั้นมีความผิดพลาดหรือบกพร่องก็ จะไม่เรียกการกระทำนั้นว่ากระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต่อมาแนวคิดนี้ได้มีการผ่อนคลายลงอย่าง มาก และนอกจากนี้ยังได้มีการขยายแนวความคิดของปรัชญาอิสระที่ว่าในเรื่องของประโยชน์ สาธารณะนั้นอาจตั้งอยู่บนความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม และเมื่อ เข้าสู่ยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเรื่องประโยชน์สาธารณะในกรอบของปรัชญา ปริวรรตที่แทรกเข้ามา (Philosophie Interventioniste) โดยมีการละทิ้งข้อคัดค้านเรื่องความขัดแย้ง ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวมออกไปโดยการปรากฎตัวของแนวความคิดใหม่เรื่อง เศรษฐกิจและประโยชน์สาธารณะ (นัยนา เกิดวิชัย, 2549) ดังนั้นทฤษฎีประโยชน์สาธารณะ จึงหมายความว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำได้ใน กรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะเท่านั้น หากไม่มีความจำเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3