การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

38 อย่างเพียงพอในการนำอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐย่อมไม่มีอำนาจ เวนคืน ในเรื่องของหลักการบริการสาธารณะนี้ การศึกษาจะประกอบไปด้วยความหมายของบริการ สาธารณะ ลักษณะสำคัญของการบริการสาธารณะ และหลักบริการสาธารณะพื้นฐานสำคัญของการ ใช้อำนาจรัฐในการเวนคืนทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ ดังต่อไปนี้ ความหมายของการบริการสาธารณะ ทฤษฎีการบริการสาธารณะ ซึ่งมีความหมายเฉพาะตามแนวความคิดของกฎหมายปกครอง ฝรั่งเศสอย่างเป็นระบบ แต่สำหรับในประเทศไทยพึ่งจะเริ่มขึ้นในระยะเวลาไม่นานมานี้เอง ดังนั้นการ ให้ความหมายของการบริการสาธารณะตามแนวความคิดดังกล่าวที่ได้ครอบคลุมถึงการบริการ สาธารณะทุกประเภท จึงเป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถทำได้ แต่ในเบื้องต้นนี้การนำเอาคำจำกัดความของ การบริการสาธารณะที่นักกฎหมายต่าง ๆ ได้ให้ความหมายของการบริการสาธารณะไว้เพื่อนำมาหา หลักเกณฑ์ของการบริการสาธารณะอันจะเป็นผลนำไปสู่การนิยามความหมายของการบริการ สาธารณะที่มีความหมายเฉพาะตามแนวความคิดของกฎหมายปกครองฝรั่งเศสที่สมบูรณ์ในโอกาส ต่อไป (พินิจ ธีระชาติ, 2541) ศาสตราจารย์ชาบู (Rene Chapu) ได้ให้คำจำกัดความของการบริการสาธารณะไว้ว่า การ บริการสาธารณะหมายถึง กิจการอย่างหนึ่งอย่างใดจะเป็นบริการสาธารณะได้ก็ต่อเมื่อนิติบุคคล มหาชนเป็นผู้ให้ หรือดูแลกิจกรรมนั้นเพื่อสาธารณะประโยชน์ (ชาญชัย แสวงศักดิ์, 2531) ส่วน ศาสตราจารย์ ดร.ประยูร กาญจนดุล ได้ให้คำจำกัดความของการบริการสาธารณะไว้ว่า การบริการ สาธารณะนั้น หมายถึงกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรือในความควบคุมของฝ่ายปกครองที่จัดทำ เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน (ประยูร กาญจนดุล, 2533) ขณะที่อาจารย์ ดร. ชรินทร์ สันประเสริฐ ได้ให้คำจำกัดความของการบริการสาธารณะไว้ว่า การบริการสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมทั้งหลายซึ่งดำเนินการโดยนิติบุคคลแห่งกฎหมายมหาชนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ เกิดความพอใจและสนองความต้องการของประชาชนในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนรวม การ ป้องกันประเทศ การขนส่งทางรถไฟ การทะเบียนราษฎร์ เป็นต้น คำนิยามของการบริการสาธารณะที่กล่าวมาข้างต้น (พินิจ ธีระชาติ, 2541) อาจแบ่งแยก ลักษณะความสำคัญของการบริการสาธารณะออกพิจารณาได้ 5 ประการ คือ 1. เป็นกิจกรรมที่อยู่ในความอำนวยการ หรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง 2. ต้องมีวัตถุประสงค์ ในการสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน 3. การจัดระเบียบและวิธีการจัดทำบริการสาธารณะย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เสมอโดย กฎหมาย 4. การจัดทำบริการสาธารณะต้องดำเนินการอยู่เป็นนิจ และสม่ำเสมอไม่มีการหยุดชะงัก

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3