การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
40 คำว่า “หลักนิติรัฐ” (กมลชัย รัตนสกาววงศ์, 2537) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นหลักกฎหมายที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงในเสรีภาพของประชาชนต่อการใช้อำนาจ ของรัฐ ขณะที่ (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2556) ได้อธิบายไว้ว่า เป็นแนวความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย นั้นถือว่ารัฐมีอำนาจอธิปไตยแต่รัฐก็ต้องเคารพกฎหมาย ซึ่งมีอยู่ 2 ทฤษฎีหลัก ๆ กล่าวคือ 1) ทฤษฎีว่าด้วยการจำกัดอำนาจตนเองด้วยความสมัครใจ (Auto-Limitation) ทฤษฎีนี้ เยียริ่ง (Ihering) และเจลลิเนค (Jellineek) เป็นผู้เสนอว่ารัฐไม่อาจถูกจำกัดอำนาจโดยกฎหมายได้ เว้นแต่รัฐ สมัครใจผูกมัดด้วยหลักกฎหมายที่ตนสร้างขึ้น โดยหลักกฎหมายนั้นจะกำหนดสถานะของอำนาจทาง การเมืองของรัฐว่าองค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจ ต้องใช้และมีข้อจำกัดอย่างไร ซึ่งกฎหมายดังกล่าวก็คือ รัฐธรรมนูญ นั่นเอง 2) ทฤษฎีนิติรัฐ (Etat de Droit) ทฤษฎีนี้รุสโซและมงเตสกิเยอ ได้เสนอแนวคิดไว้เป็นคนแรก ๆ และต่อมา กาเร เดอ มัลแบร์ ได้สรุปแนวคิดดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า รัฐกระทำการเพื่อประโยชน์ สาธารณะและอยู่ในฐานะที่เหนือกว่าเอกชน มีอำนาจก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิและหน้าที่แก่ เอกชนฝ่ายเดียว โดยไม่ต้องอาศัยความสมัครใจของปัจเจกชน แม้รัฐจะมีอำนาจเหนือกว่าเอกชนใน การดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ แต่รัฐก็จะถูกจำกัดอำนาจไว้โดยกฎหมาย ขณะที่ (บุญศรี มี วงศ์อุโฆษ, 2557) ได้อธิบายไว้ว่า หมายถึงรัฐที่กำหนดเป้าหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และ ประกันความเป็นธรรมภายใต้รัฐในขอบเขตที่รัฐมีอำนาจและการใช้อำนาจรัฐจะต้องกระทำโดยอาศัย กฎหมาย คำว่า “หลักนิติรัฐ” (ปิยบุตร แสงกนกกุล, 2553) ได้อธิบายไว้ว่า เป็นรัฐที่ยอมลดตนเองอยู่ ภายใต้กฎหมาย การใช้อำนาจจะมีและใช้ได้เมื่อกฎหมายกำหนด ส่วน (มานิตย์ จุมปา, 2556) ได้ให้ ความเห็นไว้ว่า หมายถึง รัฐภายในกฎหมาย รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะกระทำการใด ๆ อันกระทบต่อ สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจ ฉะนั้นในนิติรัฐ หลักความชอบด้วย กฎหมายจึงมีความสำคัญ คำว่า “หลักนิติรัฐ” (วรเจตน์ ภาคีรัตน์ , 2543) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า เป็นคำแปลมาจาก ภาษาเยอรมันว่า “Rechtsstaat” มีความหมายคือ การปกครองใน Rechtsstaat หรือนิติรัฐ มีขึ้น เพื่อจำกัดการใช้อำนาจของรัฐหรือผู้ปกครองให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย กฎหมายต้องไม่เปิด โอกาสให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ บุคคลทุกคนเสมอภาคกันภายใต้กฎหมาย และจะต้อง สามารถทราบล่วงหน้าก่อนว่ากฎหมายมุ่งประสงค์จะบังคับให้ตนทำอะไรและไม่ให้ทำอะไร หากฝ่าฝืน จะเกิดผลร้ายอย่างไรเพื่อให้บุคคลได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทางด้าน (สมยศ เชื้อไทย, 2553) ได้อธิบายไว้ว่า หมายถึง รัฐซึ่งยอมรับรองและให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ราษฎร ทั้งนี้เพื่อที่ราษฎรจะได้ใช้สิทธิเสรีภาพเช่นว่านั้นพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ตามที่แต่ละคนจะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3