การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

41 เห็นสมควร ดังนั้นรัฐประเภทนี้จึงเป็นรัฐที่มีอำนาจจำกัดโดยยอมอยู่ภายใต้กฎหมายของตนเองเพื่อ ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งมีคุณค่าสูงสุด 2.7.2 หลักการสำคัญของการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ หลักนิติรัฐเป็นหลักที่ใช้ในการควบคุมการใช้อำนาจซึ่งจำแนกเป็นหลักการย่อมได้ 7 ประการ คือ การปฏิบัติตามกฎหมายของทุกองค์กรของรัฐ (Supremacy of Law) หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Supremacy of Powers) การมีกฎหมายที่ดี (Good Law) การชอบด้วยกฎหมายของการปกครอง (Administrative Legality) ความรับผิดของรัฐ (State Responsibility) การมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล และหลักความเสมอภาคซึ่งถือเป็นหลักพื้นฐานในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชน (ชัยวัฒน์ วงศ์ วัฒนศานต์, 2540) ซึ่งมีหลักการย่อยที่สำคัญหลายประการ ดังนี้ 1. การปฏิบัติตามกฎหมายของทุกองค์กรของรัฐ (Supremacy of Law) องค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นเรื่องของการจัดกลไก การใช้อำนาจรัฐ (Machinery of Government) แต่ละองค์กรจำมีขอบเขตอำนาจจำกัดในการใช้ อำนาจต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันและไม่มีองค์กรใดมีอำนาจเหนือกฎหมาย กฎหมาย จะต้องอยู่เหนือสิ่งใดทั้งหมด การกระทำต่าง ๆ ในทางปกครองต้องเป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วย กฎหมาย ต้องไม่กล้ำกลายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ (หยุด แสงอุทัย, 2526) 2. หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Supremacy of Powers) หลักการแบ่งแยกอำนาจนั้นเรียกร้องมิให้อำนาจของรัฐรวมศูนย์อยู่ที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ให้ มีการแบ่งแยกการใช้อำนาจหรือกระจายการใช้อำนาจของรัฐให้องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ใช้เพื่อให้เกิดการ คานดุลอำนาจกันโดยทั่วไปรัฐธรรมนูญของนิติรัฐจะแบ่งแยกองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐออกเป็นองค์กรที่ใช้ อำนาจนิติบัญญัติ องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร และองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการ ซึ่งมงเตส กิเยอ (Montesquieu) นักกฎหมายชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดเกี่ยวกับการแบ่งแยกอำนาจนี้ไว้ในหนังสือ เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (สมยศ เชื้อไทย, 2557) โดยชี้ว่า “มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ย่อมมีแนวโน้มที่จะใช้ อำนาจที่ตนมีอยู่ไปในทางที่ผิด และจะใช้มันไปจนสุดขอบเขตที่ตนจะใช้ได้ ด้วยเหตุนี้เองแม้แต่สิ่งดี งามทั้งหลายก็ยังจำเป็นต้องมีขอบเขตของมันเช่นกัน” และ “การที่จะป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจ ในทางที่ผิด จำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบในเรื่องนี้โดยให้อำนาจหนึ่งยับยั้งอีกอำนาจหนึ่ง” หากมี การรวมอำนาจไว้อยู่ในบุคคลเดียวหรือองค์กรของรัฐใช้อำนาจสูงสุดเพียงองค์กรเดียว เสรีภาพจะไม่ เกิดขึ้น หลักการแบ่งแยกอำนาจนั้น มีเป้าหมายสำคัญ 3 ประการ คือ เป้าหมายประการแรก เพื่อ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3