การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
42 บรรลุซึ่งภารกิจตามหลักนิติรัฐ เป้าหมายประการที่สอง เพื่อบรรลุภารกิจตามหลักประชาธิปไตย และ เป้าหมายประการที่สาม เพื่อบรรลุซึ่งภารกิจทั้งหลายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ เป้าหมายประการแรก เพื่อบรรลุซึ่งภารกิจตามหลักนิติรัฐ ภารกิจของรัฐและอำนาจหน้าที่เมื่อรวมกันก็คือ อำนาจรัฐ และเมื่อแยกออกจากกันโดยการ มอบหมายให้องค์กรต่าง ๆ ของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อลดปัญหาการใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่การ แบ่งแยกอำนาจดังกล่าวก็ยังปรากฎการใช้อำนาจในทางที่ผิดอยู่ จึงมีความจำเป็นต้องให้ส่วนต่าง ๆ ของอำนาจที่แยกไปให้แต่ละองค์กรนั้นมีความเชื่อมโยงกัน มีส่วนร่วมในการควบคุมซึ่งกันและกัน มี การประสานและคานดุลอำนาจกันอีกด้วย เป้าหมายประการที่สอง เพื่อบรรลุซึ่งภารกิจตามหลักประชาธิปไตย การแยกองค์กรของรัฐทำให้เกิดความหลากหลายของบุคลากรส่งผลให้เกิดความหลากหลายใน แง่มุมของจุดยืนทางการเมืองตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐสภาที่ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มี แนวคิดที่แตกต่างทางการเมืองได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นการร่วมกันสร้างเจตจำนงทางการเมืองของรัฐ โดยการบูรณาการร่วมกัน แต่การตัดสินใจท่ามกลางความหลากหลายทางการเมืองนั้นต้องตั้งอยู่บน หลักเสียงข้างมากและหลักคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย เป้าหมายประการที่สาม เพื่อบรรลุซึ่งภารกิจทั้งหลายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินการเพื่อให้บรรลุซึ่งภารกิจของรัฐนั้นต้องอาศัยการดำเนินการขององค์กรต่าง ๆ ที่ได้มี การแบ่งแยกอำนาจโดยต้องร่วมมือดำเนินการภารกิจให้สอดประสานกันเพื่อให้การขับเคลื่อนภารกิจ ของรัฐเป็นไปอย่างราบรื่นประดุจดังฟันเฟืองของเครื่องยนต์ที่ขบรับกันพอดี เป้าหมายทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถสรุปได้ว่ารัฐย่อมไม่อาจตัดสินใจหรือ ดำเนินการใด ๆ อย่างง่าย ๆ หรือรวบรัดได้แต่ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน การตรากฎหมายของ ฝ่ายนิติบัญญัติก็ต้องตรากฎเกณฑ์ต้องดำเนินการโดยรัฐสภาซึ่งได้รับความชอบธรรมตามระบอบ ประชาธิปไตยจากประชาชน และกฎหมายต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปไม่มุ่งหมายใช้แก่กรณีใด กรณีหนึ่งเป็นการเฉพาะ ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด โดยอยู่ภายใต้หลักกฎหมายย่อมผูกมัดฝ่ายอำนาจรัฐ ส่วนฝ่ายปกครองนั้นอาจมีการแบ่งแยกอำนาจ ในการทำงานแต่ต้องมีการบูรณาการร่วมกันด้วย 3. การมีกฎหมายที่ดี (Good Law) การมีกฎหมายที่ดีนั้นเป็นหลักเกณฑ์ คือ กฎหมายต้องมีความแน่นอน และสาระของกฎหมายที่ ดี มีความแน่นอนนั้นจะทำให้ทุกคนในสังคมได้รับประโยชน์และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นธรรม ทุกคนมี ความเท่าเทียมกันในทางกฎหมาย เศรษฐกิจ และสังคม (ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์, 2540) หลักความ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3