การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
43 แน่นอนของกฎหมายนั้นประกอบด้วย 2 หลักย่อย คือหลักความชัดเจนของกฎหมาย และหลัก คุ้มครองความสุจริต กล่าวคือ หลักความชัดเจนของกฎหมายเป็นการเรียกร้องต่อการออกกฎหมาย ของฝ่ายนิติบัญญัติรวมทั้งฝ่ายบริหารในการออกกฎหมายลำดับรอง ว่าการออกกฎหมายต้องมีความ ชัดเจนเพียงพอเพื่อให้บุคคลสามารถกำหนดพฤติกรรมของตนเองได้ กรณีที่มาตรการทางกฎหมาย ของรัฐกระทบสิทธิของประชาชนจะต้องมีการบัญญัติกฎหมายให้ชัดเจน การจำกัดสิทธิของประชาชน ทำได้เท่าที่จำเป็น ไม่กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพและกฎหมายนั้นต้องมีลักษณะ บังคับเป็นการทั่วไป (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2556) ส่วนหลักคุ้มครองความสุจริตนั้นเป็นการ เรียกร้องต่อฝ่ายปกครองให้นำหลักความสุจริตมาใช้เพื่อคุ้มครองบุคคลผู้รับคำสั่งทางปกครองที่เชื่อ โดยสุจริตว่าคำสั่งทางปกครองนั้นออกโดยชอบด้วยกฎหมาย หากฝ่ายปกครองมีการยกเลิกเพิกถอน จะต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองด้วย (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2555) นอกจากกฎหมายต้องมีความแน่นอนแล้ว กฎเกณฑ์ทางกฎหมายจะต้องใช้ได้ยืนยาวมีความ ต่อเนื่อง และยังคงใช้อยู่ต่อไปในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของหลักการคุ้มครองความเชื่อถือและความ ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินการของรัฐ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่ากฎเกณฑ์ที่รัฐได้วางไว้มี ความต่อเนื่องถาวรจนสามารถใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการประกอบธุรกิจต่างๆของตนได้ และรัฐจะไม่ตรากฎหมายที่มีผลใช้บังคับย้อนหลังในทางที่เป็นผลร้ายต่อประชาชนแต่หากกฎหมายที่มี ผลย้อนหลังนั้นเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนก็สามารถทำได้ คำว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนั้น หมายความว่าจะต้องมีการประกาศกฎหมายให้ประชาชนทราบล่วงหน้าในราชกิจจานุเบกษาก่อนที่จะ นำไปใช้บังคับ และจะใช้กฎหมายนั้นบังคับแก่การกระทำหรือเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงแล้ว ก่อนวันที่มีการประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ โดยข้อห้ามการตรากฎหมายให้มีผล ย้อนหลังนั้นมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแทบทุกฉบับ (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2540) 4. การชอบด้วยกฎหมายปกครอง (Administrative Legality) หลักความชอบด้วยกฎหมายนั้นมีอยู่ว่ารัฐต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายให้อำนาจและมี กระบวนการในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย โดยการควบคุมความชอบด้วย กฎหมายประกอบด้วย หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางนิติบัญญัติ หลักความชอบ ด้วยกฎหมายของการกระทำทางตุลาการ และหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางบริหาร กล่าวคือ การใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายนั้นไม่อาจออกกฎหมายมาจำกัดสิทธิเสรีภาพ ของปัจเจกชนได้ เว้นแต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจ และกฎหมายที่ออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3