การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

44 ประชาชนต้องออกโดยประชาชนหรือองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชน หากการกระทำของฝ่ายนิติ บัญญัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือกฎหมายออกมานั้นขัดรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นก็ไม่มีผลบังคับตั้งแต่ ต้น สำหรับการกระทำทางตุลาการนั้นแม้องค์กรตุลาการจะเป็นผู้ทำหน้าที่ควบคุมความชอบด้วย กฎหมาย และแม้ในหลักนิติรัฐองค์กรตุลาการจะมีหลักประกันความเป็นอิสระในการพิจารณา พิพากษาคดี แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน กล่าวคือ ตุลาการต้อง วินิจฉัยชี้ขาดคดีตามตัวบทกฎหมาย และในระบบกฎหมายจะมีกลไกการควบคุมตรวจสอบการกระทำ ของฝ่ายตุลาการ เช่น การกำหนดให้ศาลมี 3 ชั้น โดยให้ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดในการควบคุม ความชอบด้วยกฎหมายของคำพิพากษาที่ศาลล่างตัดสิน เป็นต้น สำหรับหลักความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางบริหารนั้น แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ รัฐบาล กับฝ่ายปกครอง แต่การกระทำของรัฐบาล ไม่อยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายไม่ถูกควบคุมโดยศาล จะมีเฉพาะการกระทำของฝ่าย ปกครองเท่านั้นที่อยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายโดยฝ่ายปกครองจะกระทำการใด ๆ ที่จะ กระทบต่อปัจเจกชนต้องมีกฎหมายให้อำนาจ หากกระทำโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจถือเป็นการ กระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีกระบวนการควบคุม เช่น กรณีเป็นนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายจะมีการยกเลิกเพิกถอน และถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นฝ่ายปกครองก็ต้องรับผิดชอบ ชดใช้ค่าเสียหาย เป็นต้น (วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, 2540) 5. ความรับผิดชอบของรัฐ (State Responsibility) เมื่อรัฐใช้อำนาจโดยละเมิดต่อกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน รัฐจึงมีหน้าที่ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายเพื่อเยียวยาผลที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐดังกล่าว 6. การมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล สาระสำคัญของหลักนิติรัฐประการหนึ่งก็คือ การคุ้มครองสิทธิของประชาชนจากการกระทำอัน ไม่ชอบของรัฐ สำหรับสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ รัฐธรรมนูญรับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อสิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ คดีในศาลได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพอื่น ๆ นั้นบุคคลก็มีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยงานราชการ หน่วยงานของ รัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดเนื่องจากการ กระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น สิทธิในการ ฟ้องหน่วยงานของรัฐ เพื่อเรียกร้องให้รับผิด และชดใช้ความเสียหายทางละเมิดที่กล่าวมานี้ อาจ พิจารณาได้ว่าครอบคลุมไปถึงสิทธิที่ทางวิชาการกฎหมายมหาชนของเยอรมัน เรียกว่า “สิทธิเรียกร้อง ของปัจเจกบุคคลตามกฎหมายมหาชน” กล่าวคือหากมีกฎหมายใดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครอง ประโยชน์ของปัจเจกชน และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องดำเนินการอย่างใด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3