การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
45 อย่างหนึ่ง หากหน่วยงานของรัฐมิได้ดำเนินการ หรือดำเนินการบกพร่องจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ ปัจเจกชน ย่อมเป็นสิทธิของปัจเจกชนที่จะฟ้องร้องให้หน่วยงานของรัฐนั้น ดำเนินการตามสิทธิ เรียกร้องของตนได้ (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, 2538) สิทธิเรียกร้องของปัจเจกบุคคลตามกฎหมายมหาชน จึงมีความหมายกว้างกว่าสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรอง 2.8 หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนามาจากรากฐานความคิดทางปรัชญาว่าด้วยเรื่องปัจเจก ชนนิยม (Individualism) เจตนาที่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นหลักการพื้นฐานของเสรีภาพตามธรรมชาติ ของมนุษย์ซึ่งเจตนามีความเป็นอิสระที่จะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่แสดงออกตามเจตนา ที่ตนต้องการเท่านั้น ดังนั้น บุคคลทุกคนจึงมีอิสระที่จะผูกพันตนเองต่อผู้อื่นตามที่ตนต้องการ โดย เจตนาดังกล่าวของบุคคลจึงเป็นแหล่งกำเนิดและมาตรการทางสิทธิที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางหนี้ที่จะ เข้าผูกมัดตนเองต่อผู้อื่น บุคคลจะไม่ถูกผูกพันในหนี้ที่ไม่ได้ตกลงยินยอมด้วยบุคคลจึงสามารถที่จะถูก บังคับด้วยตัวของตนเองโดยเฉพาะการผูกมัดตัวเองด้วยนิติสัมพันธ์ที่ทำขึ้นด้วยสัญญาระหว่างกัน เนื่องจากเจตนาเป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่โดยคู่สัญญา หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาวางอยู่บนแนวคิดว่า บุคคลมีอำนาจต่อรองที่เท่าเทียม กันตามกฎหมาย สามารถเข้าใจความได้เปรียบหรือเสียเปรียบของตนเองในการเข้าทำสัญญา กฎหมาย จึงถือว่าคู่สัญญามีฐานะในการรับรู้และต่อรองเท่าเทียมกัน คู่สัญญาจึงมีอำนาจในการ กำหนดเงื่อนไขหรือข้อความในสัญญาร่วมกัน ข้อตกลงดังกล่าวระหว่างคู่สัญญาเกิดจากการตกลงใจ ร่วมผูกพันในสัญญา โดยคู่สัญญาไม่ได้ถูกบังคับให้ตกลงใจและคู่สัญญาย่อมตกลงใจผูกพันในสัญญา ดังกล่าวด้วยความเข้าใจในข้อความตามสัญญาอย่างชัดแจ้งจึงตกลงใจเข้าผูกพันในสัญญาระหว่างกัน การตกลงเข้าทำสัญญาตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานี้ถือได้ว่ าเป็นหนี้ที่ยุติธรรม ระหว่างคู่สัญญาแล้ว ดังนั้น สัญญาดังกล่าวทำขึ้นโดยสมบูรณ์ก่อให้เกิดหนี้หรือนิติสัมพันธ์ในทาง กฎหมายแล้วย่อมมีผลบังคับระหว่างคู่สัญญาตามกฎหมายคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจำต้องผูกพันและ ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญานั้น ตามหลัก “สัญญาต้องเป็นสัญญา” (Pacta Sunt Servanda) (ไชยยศ เหมะรัชตะ, 2527) การเข้าผูกพันระหว่างบุคคลในฐานะคู่สัญญาให้ความสำคัญกับการแสดงเจตนาเข้าผูกพันที่วาง อยู่บนพื้นฐานของการยอมรับและเคารพต่อเสรีภาพของบุคคลว่าเป็นสิทธิที่มีมาตามธรรมชาติติดตัว มาแต่เกิด ไม่สนับสนุนให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพของเอกชนในการทำสัญญาระหว่างเอกชนด้ว ยกัน แต่ในแนวทางของรัฐคงไม่อาจปล่อยให้เอกชนสามารถกระทำการใด ๆ โดยไม่มีขอบเขตได้ ดังนั้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3