การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
46 ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งเจตนาจึงมองว่าการที่คู่สัญญามีอำนาจเต็มที่ในการสัญญาใด ๆ นั้น กระทำได้ภายใต้บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่ง เป็นกรณีที่รัฐไม่อนุญาตให้เอกชนทำได้ถ้ากระทบต่อหลักดังกล่าว บทบาทของรัฐต่อหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานั้น จะวางอยู่บนแนวคิดที่รัฐจะต้องไม่ ตรากฎหมายไปบีบบังคับต่อการทำสัญญาของเอกชน เอกชนสามารถวางกฎเกณฑ์ที่จะใช้บังคับแก่ สัญญาของตนได้ โดยที่กฎหมายจะเข้าไปเกี่ยวข้องเฉพาะในกรณีที่เห็นสมควรเท่านั้น หรือสัญญา ดังกล่าวกระทบต่อหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเท่านั้น จะเห็นว่าเจตนา ของเอกชนมีค่าเหนือกว่าสังคมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการแสดงเจตนาของเอกชนเป็นตัวก่อให้เกิด หนี้ขึ้น หนี้มิได้เกิดจากอำนาจภายนอกอื่นใดซึ่งเป็นอำนาจทางสังคม (สุธาบดี สัตตบุศย์, 2522) หรือ อาจกล่าวได้ว่า “บุคคลต้องมีอิสระในการทำสัญญาตามที่เขาต้องการโดยปราศจากการแทรกแซง” หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนาเป็นหลักที่ให้ความสำคัญแก่เจตนาในฐานะที่เป็นตัว ก่อให้เกิดสัญญา กำหนดเนื้อหาในสัญญาและเป็นกฎเกณฑ์ที่ก่อให้เกิดสภาพบังคับระหว่างคู่สัญญาให้ ต้องปฏิบัติตามสัญญาตลอดจนเรื่องปัญหาการตีความสัญญา (ดาราพร ถิระวัฒน์, 2542) 1.เจตนา เป็นตัวก่อให้เกิดสัญญา เจตนาเป็นกลไกสำคัญในขั้นตอนการเจรจาทำสัญญา สัญญาเกิดขึ้นตามหลักเสนอสนองต้อง ตรงกัน การตกลงยินยอมที่จะให้เกิดผลผูกพันตามสัญญาต้องมีการแสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏ ภายนอกว่ามีความต้องการอย่างไร ไม่ว่าด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร เจตนาต้องประกอบด้วย ความยินยอมสมัครใจที่บุคคลแสดงออกมา ซึ่งจะต้องไม่มีความผิดพลาดหรือบกพร่องของเจตนา 2.เจตนา เป็นตัวกำหนดเนื้อหาของสัญญา คู่สัญญามีเสรีภาพที่จะตกลงทำสัญญาตามที่ตนสมัครใจผูกมัด โดยจะกำหนดรายละเอียดเพื่อ ผูกพันระหว่างกันให้เหมือนหรือแตกต่างไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ เนื่องจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เกี่ยวกับเอกเทศสัญญานั้นเป็น สัญญาที่ใช้กันสม่ำเสมอจนเป็นที่รู้จัก กฎหมายจึงบัญญัติสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาตลอดจนผลของ สัญญาไว้โดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงคู่สัญญาอาจทำสัญญากำหนดเนื้อหาแตกต่างไปจากที่บัญญัติ ไว้ในกฎหมาย ว่า “สัญญาไม่มีชื่อ” แต่ทั้งนี้ ข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวต้องมีลักษณะไม่ขัดต่อความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน มิเช่นนั้นสัญญาที่ทำขึ้นจะตกเป็นโมฆะ 3.เจตนา เป็นตัวกำหนดผลของสัญญา เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้วมีผลผูกพันคู่สัญญาตามที่ตกลงกัน คู่สัญญาต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามข้อ ผูกพันดังกล่าว หากมีกรณีเป็นที่สงสัยให้ใช้การตีความสัญญาเพื่อให้เป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3