การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

47 คู่สัญญา นอกจากนั้นความผูกพันตามสัญญาที่ได้ตกลงกันนี้จะไม่ถูกกระทบหรือเปลี่ยนแปลง แม้จะมี การบัญญัติกฎหมายใหม่ออกมาใช้บังคับซึ่งหลักเกณฑ์จำกัดหรือขัดแย้งกับสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนก็ตาม สัญญานั้นยังมีผลผูกพันตามเจตนาของคู่สัญญาที่ได้ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถ้า กฎหมายใหม่นั้นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญานั้นต้องถูกบังคับตามกฎหมายใหม่ที่ออกมาภายหลังเกิดสัญญาขึ้น เว้นแต่กฎหมายจะบัญญัติไว้ เป็นพิเศษว่าไม่ให้มีผลย้อนหลังบังคับแก่สัญญาที่เกิดขึ้นก่อนจะมีกฎหมายนั้น หลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนานั้นมีผลทางกฎหมายที่สำคัญ 2 ประการ (ไชยยศ เหมะ รัชตะ, 2535) คือ 1) ให้เสรีภาพในการทำสัญญา (La Liberate Contractually) เป็นเรื่องของความยุติธรรม ดังนั้น กฎหมายจะต้องเปิดโอกาสให้คู่สัญญามีอิสระที่จะทำสัญญาได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นใน ส่วนของเนื้อหาของสัญญา คู่สัญญาย่อมมีเสรีภาพที่จะทำสัญญาที่ตนสมัครใจผูกพันโดยสามารถ กำหนดข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ลงในสัญญาได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม แม้ว่ากฎหมายจะกำหนด หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาไว้บ้าง โดยกำหนดสัญญาบางชนิดที่คู่กรณีอาจเลือกกระทำตามได้ เช่น กู้ยืม จำนอง จำนำ แต่คู่สัญญาก็มีเสรีภาพที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระในสัญญานั้นได้ หรือจะทำ สัญญาในรูปแบบใหม่ที่ไม่มีกำหนดในกฎหมายก็ยังสามารถทำได้ 2) การเคารพและปฏิบัติตามเจตนาทำสัญญา การทำสัญญาเกิดจากความยินยอมของคู่สัญญา เป็นตัวก่อให้เกิดหนี้ระหว่างคู่สัญญา ดังนั้นเมื่อทำสัญญาขึ้นแล้วจะต้องปฏิบัติตามที่ตกลงไว้ในสัญญา นั้น ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฝรั่งเศส มาตรา 1134 ได้บัญญัติว่า “ความตกลง ที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีผลเป็นกฎใช้บังคับแก่ผู้ที่ทำความตกลงนั้น” หมายความว่า สัญญาเมื่อทำขึ้นแล้วต้องมีการปฏิบัติตามจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หยุดยั้ง การปฏิบัติตาม สัญญาไม่ได้ เว้นแต่คู่สัญญาตกลงกันให้ทำเช่นนั้นได้ ศาลหรือกฎหมายไม่สามารถยื่นมือเข้าไป เกี่ยวข้องกับสัญญานั้น 2.9 หลักเสรีภาพในการทำสัญญา หลักเสรีภาพในการทำสัญญาเป็นหลักที่พัฒนามาจากแนวคิดจากหลักปัจเจกชนนิยม (Individualism) และหลักเสรีนิยม (Liberalism) ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นมาด้วยกฎหมาย โดยตรง หลักการนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำสัญญาแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญาสามารถตกลงเข้าทำ สัญญากับใครย่อมเป็นไปตามที่คู่สัญญาต้องการ เป็นเสรีภาพของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงหรือกำหนด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3