การศึกษาอิสระ - วิทยานิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
48 สิทธิหน้าที่ของตนอย่างไรก็ได้ หลักดังกล่าวให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่คู่สัญญาในการกำหนดชนิด แบบและเนื้อหาของสัญญาโดยที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงน้อยที่สุด (จำปี โสตถิพันธุ์, 2547) แนวความคิดในเรื่องหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้มีรากฐานมาจากนักคิดคนสำคัญที่มีชื่อเสียง หลายท่าน เช่น นักปรัชญาเสรีนิยมสำนักอรรถประโยชน์ Jeremy Bentham และ Mill มีความเชื่อว่ารากฐาน ของกฎหมายหรือศีลธรรม คือการสร้างประโยชน์สูงสุดแก่บุคคลจำนวนมากที่สุด จึงได้มีการประยุกต์ หลักอรรถประโยชน์ในสาขากฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยถือว่าเสรีภาพทางสัญญาพาณิชย์เป็น เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เกิดความสุขมากที่สุดแก่เอกชน ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องให้หลักประกัน แก่เสรีภาพในการทำสัญญา (รองพล เจริญพันธ์, 2530) ในขณะที่ Adam Smith ได้แสดงความเห็นในหลักเรื่องเสรีภาพของมนุษย์ไว้ในผลงานชื่อ “The Wealth of Nations” บุคคลทุกคนควรที่จะมีอิสระในการจัดการผลประโยชน์ของตนเองด้วยวิถีทาง ของตนเอง เป็นหน้าที่ของกฎหมายที่จะต้องให้ความเป็นผลต่อเจตนาของคู่สัญญา และมีการจำกัด เสรีภาพในการทำสัญญาอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (จักรี อดุลนิรัตน์, 2546) และในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา (United States Constitution, Art.I.S.10) ได้ปรากฎ หลักว่าด้วยเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom of Contract) หรือการปรากฎขึ้นของหลักดังกล่าว ในประเทศฝรั่งเศส ภายหลังการปฏิวัติโดยได้บัญญัติใน Napoleonic-Decree of March 2-17,1791 (1791), 2., Collection des Decrets, 147, มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลทุกคนมีเสรีภาพในการ จัดการธุรกิจใด ๆ ได้ตามที่ตนเห็นสมควร” อย่างไรก็ตามจะไม่มีบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยเรื่องเสรีภาพ ในการทำสัญญาอย่างชัดเจน ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฝรั่งเศส แต่อ้างอิงได้ว่ามีหลัก ดังกล่าวอยู่ใน มาตรา 6 มาตรา 1131 และมาตรา 1133 ที่บัญญัติว่า “การตกลงร่วมกันของคู่สัญญา คือกฎหมาย” (วรงค์พร จิระภาค, 2556) จากข้อแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นดังนี้ สัญญาที่เป็นหนี้ประเภทหนึ่งนั้นเกิด จากคู่สัญญาที่มีเสรีภาพที่จะตกลงเข้าผูกพันในสัญญาดังกล่าวหรือไม่ เมื่อคู่สัญญาเห็นว่าสัญญา ดังกล่าวเป็นสัญญาที่ไม่ยุติธรรม เอารัดเอาเปรียบ หรือหนี้ดังกล่าวนั้นตนต้องรับภาระแห่งหนี้ไว้มาก เกินกว่าหนี้ที่คู่สัญญาอีกฝ่ายที่จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแล้ว คู่สัญญาอีกฝ่ายสามารถที่จะ ปฏิเสธเข้าผูกพันตามสัญญานั้น แต่ถ้าคู่สัญญาทั้งสองได้ตกลงเข้าทำสัญญาดังกล่าวย่อมถือได้ว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยอมรับ ว่าหนี้ที่ตนเข้าผูกพันตามสัญญานั้นยุติธรรมแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่ อาจอ้างในภายหลังว่าสัญญาดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ยุติธรรมไม่ได้ เพราะขณะเข้าทำสัญญานั้น คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะเข้าทำสัญญาด้วยความสมัครใจไม่ได้เกิดจากการบังคับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3